นายปทุม เกิดศรี วีรชนประชาธิปไตยที่ร่วมเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ และได้รับบาดเจ็บเป็นอัมพาตช่วงล่าง เปรียบเทียบการชุมนุมทางการเมืองเมื่อเดือนตุลาคม 2516 กับการชุมนุมทางการเมืองขณะนี้ ว่ามีความแตกต่างกัน จุดมุ่งหมายของประชาชนเดือนตุลาฯ นั้น เป็นการต่อสู้กับระบอบเผด็จการ แต่ปัจจุบันมีความแตกต่างทางความคิดของคนในสังคมเกี่ยวกับวิถีทางประชาธิปไตย
เช่นเดียวกับนางสมสุข กรมศรีประเทศ ที่สูญเสียลูกชายในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ และนางกิมเตีย ฤทธิวานิช ที่สูญเสียสามีในเหตุการณ์เดียวกัน โดยทั้งสองระบุว่า เป้าหมายในการเรียกร้องทางการเมืองของวีรชนประชาธิปไตย กับปัจจุบันนั้น ไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม อยากให้ทุกฝ่ายยึดผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก
ทั้งนี้ ภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมรำลึกและไว้อาลัยให้กับวีรชนประชาธิปไตยแล้ว ได้มีการปาฐกถาในหัวข้อ "การเมืองกับการออกแบบรัฐธรรมนูญ" โดย ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยระบุว่า การปฏิรูปการเมืองนั้นต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน เห็นได้ชัดจากรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่มีเป้าหมายชัดเจนในการส่งเสริม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง ดูแล และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพ ดังนั้น หากจะมีการปฏิรูปการเมืองอีกครั้งก็ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่ใช่เพียงเพราะคิดว่าจะสามารถแก้ปัญหาสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ได้
งานรำลึก 35 ปี 14 ตุลาฯ ในวันนี้ ญาติวีรชนระบุว่า ไม่อยากให้เป็นเพียงการไว้อาลัยหรือร่วมรำลึกถึงผู้ที่จากไปเท่านั้น แต่หวังว่าทุกคนในสังคมจะเก็บประวัติศาสตร์การเมืองครั้งสำคัญนี้ไว้เป็นบทเรียนในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
เช่นเดียวกับนางสมสุข กรมศรีประเทศ ที่สูญเสียลูกชายในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ และนางกิมเตีย ฤทธิวานิช ที่สูญเสียสามีในเหตุการณ์เดียวกัน โดยทั้งสองระบุว่า เป้าหมายในการเรียกร้องทางการเมืองของวีรชนประชาธิปไตย กับปัจจุบันนั้น ไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม อยากให้ทุกฝ่ายยึดผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก
ทั้งนี้ ภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมรำลึกและไว้อาลัยให้กับวีรชนประชาธิปไตยแล้ว ได้มีการปาฐกถาในหัวข้อ "การเมืองกับการออกแบบรัฐธรรมนูญ" โดย ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยระบุว่า การปฏิรูปการเมืองนั้นต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน เห็นได้ชัดจากรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่มีเป้าหมายชัดเจนในการส่งเสริม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง ดูแล และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพ ดังนั้น หากจะมีการปฏิรูปการเมืองอีกครั้งก็ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่ใช่เพียงเพราะคิดว่าจะสามารถแก้ปัญหาสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ได้
งานรำลึก 35 ปี 14 ตุลาฯ ในวันนี้ ญาติวีรชนระบุว่า ไม่อยากให้เป็นเพียงการไว้อาลัยหรือร่วมรำลึกถึงผู้ที่จากไปเท่านั้น แต่หวังว่าทุกคนในสังคมจะเก็บประวัติศาสตร์การเมืองครั้งสำคัญนี้ไว้เป็นบทเรียนในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน