สหประชาชาติออกโรงเมื่อวันอังคาร(7) เรียกร้องให้ออกกฎระเบียบกำกับดูแลตลาดการเงินโลกให้เข้มงวดมากขึ้น เพื่อเป็นการรับมือกับ "วิกฤตแห่งศตวรรษ" พร้อมทั้งเตือนด้วยว่านโยบายหลายอย่างที่หลายประเทศทยอยกันออกมาเพื่อจัดการกับสถานการณ์ จะทำให้เกิดภาวะเงินฝืดในระยะยาว
องค์การที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังก์ถัด) ออกมาระบุว่าตอนนี้รัฐจะต้องเพิ่มการเข้าแทรกแซงภาคการเงิน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ระบบการเงินและภาคเศรษฐกิจแท้จริง ต้องความเสียหายที่มากขึ้นไปกว่านี้
การแสดงท่าทีของอังก์ถัดครั้งนี้นับเป็นส่วนหนึ่งการวิพากษ์วิจารณ์โมเดลเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีของสหรัฐฯและอังกฤษ ที่เริ่มดังหนาหูมากขึ้นจากประเทศต่าง ๆที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินที่สั่นสะเทือนโลกอยู่ตอนนี้
"ข้อโต้แย้งซึ่งพวกที่เชื่อมั่นในโครงสร้างพื้นฐานของตลาด ใช้มาต่อกรกับผู้เสนอให้ออกระเบียบกฎเกณฑ์ควบคุมมากขึ้นนั้น มีพื้นฐานมาจากความเชื่อที่ว่าวินัยของตลาดเพียงอย่างเดียว ก็สามารถที่จะควบคุมพฤติกรรมของธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆให้อยู่กับร่องกับรอยได้แล้ว ทว่าข้อโต้แย้งเช่นนี้กำลังได้รับการพิสูจน์จากวิกฤตการเงินครั้งนี้ ว่าไม่มีความน่าเชื่อถือเลย" อังก์ถัดกล่าวในการบรรยายสรุปเชิงนโยบายที่นครเจนีวาเมื่อวันอังคาร
องค์การที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังก์ถัด) ออกมาระบุว่าตอนนี้รัฐจะต้องเพิ่มการเข้าแทรกแซงภาคการเงิน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ระบบการเงินและภาคเศรษฐกิจแท้จริง ต้องความเสียหายที่มากขึ้นไปกว่านี้
การแสดงท่าทีของอังก์ถัดครั้งนี้นับเป็นส่วนหนึ่งการวิพากษ์วิจารณ์โมเดลเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีของสหรัฐฯและอังกฤษ ที่เริ่มดังหนาหูมากขึ้นจากประเทศต่าง ๆที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินที่สั่นสะเทือนโลกอยู่ตอนนี้
"ข้อโต้แย้งซึ่งพวกที่เชื่อมั่นในโครงสร้างพื้นฐานของตลาด ใช้มาต่อกรกับผู้เสนอให้ออกระเบียบกฎเกณฑ์ควบคุมมากขึ้นนั้น มีพื้นฐานมาจากความเชื่อที่ว่าวินัยของตลาดเพียงอย่างเดียว ก็สามารถที่จะควบคุมพฤติกรรมของธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆให้อยู่กับร่องกับรอยได้แล้ว ทว่าข้อโต้แย้งเช่นนี้กำลังได้รับการพิสูจน์จากวิกฤตการเงินครั้งนี้ ว่าไม่มีความน่าเชื่อถือเลย" อังก์ถัดกล่าวในการบรรยายสรุปเชิงนโยบายที่นครเจนีวาเมื่อวันอังคาร