นายสุเทพ โชคบุญธิยานนท์ หัวหน้ากลุ่มนิติกร กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กล่าวว่า ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติ หรือ พ.ร.บ.ขอทาน ฉบับใหม่ซึ่งเป็นฉบับแก้ไขปรับปรุงจาก พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน ปี 2484 ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว โดยระบุให้มีการจดทะเบียนขอทาน โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานควบคุมดูแลแต่ละพื้นที่ เพื่อจัดระเบียบและควบคุมจำนวนขอทานที่เพิ่มสูงขึ้น
ขณะที่นายเอกลักษณ์ หลุ่มชุมแข หัวหน้าส่วนปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงา ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นทะเบียนขอทาน เพราะจะเป็นการส่งเสริมให้มีขอทานเพิ่มมากขึ้น
พระราชบัญญัติขอทาน ฉบับใหม่ ระบุให้ผู้ที่จะขึ้นทะเบียนเป็นขอทานได้ จะต้องเป็นผู้พิการ ทุพพลภาพ ไม่สามารถหาเลี้ยงชีพด้วยวิธีอื่นได้ ผู้สูงอายุที่ไม่มีผู้อุปการะเลี้ยงดู และผู้ไร้ที่อยู่อาศัย ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การเลี้ยงชีพ ขณะที่ข้อมูลจำนวนขอทานที่อยู่ในการดูแลของสถานสงเคราะห์ 11 แห่งทั่วประเทศ เมื่อปีที่แล้ว มีทั้งสิ้น 158 คน
ขณะที่นายเอกลักษณ์ หลุ่มชุมแข หัวหน้าส่วนปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงา ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นทะเบียนขอทาน เพราะจะเป็นการส่งเสริมให้มีขอทานเพิ่มมากขึ้น
พระราชบัญญัติขอทาน ฉบับใหม่ ระบุให้ผู้ที่จะขึ้นทะเบียนเป็นขอทานได้ จะต้องเป็นผู้พิการ ทุพพลภาพ ไม่สามารถหาเลี้ยงชีพด้วยวิธีอื่นได้ ผู้สูงอายุที่ไม่มีผู้อุปการะเลี้ยงดู และผู้ไร้ที่อยู่อาศัย ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การเลี้ยงชีพ ขณะที่ข้อมูลจำนวนขอทานที่อยู่ในการดูแลของสถานสงเคราะห์ 11 แห่งทั่วประเทศ เมื่อปีที่แล้ว มีทั้งสิ้น 158 คน