นายสุวินัย วัตตธรรม ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เผยรายงานสถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์ปี 2550 โดยมีตัวชี้วัดใน 10 มิติ คือที่อยู่อาศัย สุขภาพอนามัย การศึกษา การมีงานทำและรายได้ ความมั่นคงส่วนบุคคล ครอบครัว การสนับสนุนทางสังคม สังคม-วัฒนธรรม สิทธิและความเป็นธรรม และการเมือง-ธรรมาภิบาล โดยศึกษาทั้งระดับบุคคลและระดับพื้นที่ทั่วประเทศ พบว่า ภาคเหนือ มีค่าดัชนีสูงสุด 77.21 กล่าวคือภาพรวมมีความมั่นคงของมนุษย์มากที่สุด รองลงมา คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 75.25 ภาคใต้ 65.23 และภาคกลาง 63.12 ตามลำดับ โดยจังหวัดที่มีค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ในภาพรวมสูงสุด 5 จังหวัด คือ เชียงใหม่ แพร่ ลำพูน น่าน และพะเยา ขณะที่กลุ่มจังหวัดที่มีค่าเฉลี่ยความมั่นคงของมนุษย์ต่ำสุด 5 อันดับ คือ กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนนทบุรี ตามลำดับ โดยกรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดที่มีสถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์อยู่ในระดับต่ำที่สุด โดยเฉพาะด้านที่อยู่อาศัย การศึกษา ความมั่นคงส่วนบุคคลและสิทธิความเป็นธรรม
สำหรับผลศึกษาดังกล่าวสำนักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะนำข้อมูลเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เพื่อให้แต่ละจังหวัดใช้เป็นฐานข้อมูลในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน จัดทำแผนพัฒนาแก้ไขปัญหาต่อไป
สำหรับผลศึกษาดังกล่าวสำนักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะนำข้อมูลเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เพื่อให้แต่ละจังหวัดใช้เป็นฐานข้อมูลในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน จัดทำแผนพัฒนาแก้ไขปัญหาต่อไป