นายวิชช์ จีระแพทย์ อธิบดีอัยการฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย สำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า มาตรา 60 ของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิ์จะฟ้องหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น และองค์กรอื่นของรัฐ ให้รับผิดฐานกระทำ หรือละเว้นการกระทำของข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานนั้น ซึ่งจากนี้ไป ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องพร้อมรับมือกับมาตรการดังกล่าว ด้วยการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต ดำเนินการปฏิบัติหน้าที่ให้ประชาชนอย่างเต็มที่ เพราะหากประชาชนเห็นว่า การกระทำของข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐ ทำให้พวกเขาได้รับความเสียหาย หรือละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพ จะทำให้ถูกฟ้องร้องได้
ส่วนกระบวนการฟ้องร้องคดี มาตรา 60 ประชาชนสามารถยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้ โดยไม่ต้องผ่านทนายหรืออัยการเพื่อเรียกค่าเสียหาย และพิจารณาคดีจะใช้ระบบไต่สวน โดยผู้ถูกฟ้องจะเป็นผู้รวบรวมเอกสารเพื่อแก้ต่างต่อศาล โดยอัยการจะทำหน้าที่เป็นทนายที่ต้องแก้ต่างลูกความให้ปราศจากข้อสงสัย ซึ่งจะทำให้คำว่า "การสืบพยานมีข้อสงสัยยกประโยชน์ให้จำเลย" จะไม่เกิดขึ้นเด็ดขาด
ส่วนกระบวนการฟ้องร้องคดี มาตรา 60 ประชาชนสามารถยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้ โดยไม่ต้องผ่านทนายหรืออัยการเพื่อเรียกค่าเสียหาย และพิจารณาคดีจะใช้ระบบไต่สวน โดยผู้ถูกฟ้องจะเป็นผู้รวบรวมเอกสารเพื่อแก้ต่างต่อศาล โดยอัยการจะทำหน้าที่เป็นทนายที่ต้องแก้ต่างลูกความให้ปราศจากข้อสงสัย ซึ่งจะทำให้คำว่า "การสืบพยานมีข้อสงสัยยกประโยชน์ให้จำเลย" จะไม่เกิดขึ้นเด็ดขาด