นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก รัฐบาลจึงควรออกมาตรการรองรับ เช่น การประสานสานต่อนโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤต เพื่อคนไทยทุกคน หากใช้ในระยะสั้นจะทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบ แต่ในระยะยาวอาจเป็นการบิดเบือนพฤติกรรมของผู้บริโภค และจะส่งผลเสียหายต่อเศรษฐกิจได้
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เสนอ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในระบบเศรษฐกิจจากวิกฤตการเงินโลก และสนับสนุนให้เกิดความสมดุลของเศรษฐกิจในระยะต่อไป เช่นการติดตาม 6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบ โดยเฉพาะไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปีงบประมาณ 2552 การหามาตรการทางการตลาด เพื่อเตรียมรับฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี หลังจากได้รับผลกระทบอย่างหนัก และการดุแลสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว 4 เดือนสุดท้ายของปี
นอกจากนี้ยังเสนอให้รัฐบาลกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยขยายระยะเวลามาตรการลดภาษีธุรกิจเฉพาะจากร้อยละ 3.3 เหลือร้อยละ 0.1 และขยายระยะเวลาการลดธรรมเนียมการโอน และค่าจดทะเบียนจำนองเหลือร้อยละ 0.01 ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 28 มีนาคม 2552 ออกไปอีก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เสนอ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในระบบเศรษฐกิจจากวิกฤตการเงินโลก และสนับสนุนให้เกิดความสมดุลของเศรษฐกิจในระยะต่อไป เช่นการติดตาม 6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบ โดยเฉพาะไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปีงบประมาณ 2552 การหามาตรการทางการตลาด เพื่อเตรียมรับฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี หลังจากได้รับผลกระทบอย่างหนัก และการดุแลสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว 4 เดือนสุดท้ายของปี
นอกจากนี้ยังเสนอให้รัฐบาลกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยขยายระยะเวลามาตรการลดภาษีธุรกิจเฉพาะจากร้อยละ 3.3 เหลือร้อยละ 0.1 และขยายระยะเวลาการลดธรรมเนียมการโอน และค่าจดทะเบียนจำนองเหลือร้อยละ 0.01 ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 28 มีนาคม 2552 ออกไปอีก