นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หมายเลข 8 แถลงข่าวที่บริเวณป้ายแท็กซี่อัจฉริยะ หน้าโรงแรมฟอร์จูน ถนนรัชดาภิเษกว่า โครงการนี้เป็นผลงานของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าฯ กทม. ยืนยันว่า การออกมาแถลงข่าวครั้งนี้ไม่ใช่การโจมตีใคร แต่เป็นการพิสูจน์ผลงานว่าใน 4 ปีที่ผ่านมา โครงการป้ายจอดแท็กซี่อัจฉริยะดังกล่าวและอีกหลายโครงการอัจฉริยะ ไม่ได้เกิดประโยชน์ใด ๆ
สำหรับป้ายจอดแท็กซี่ ติดตั้งมาตั้งแต่ปี 2549 มีประชาชนเรียกใช้บริการ 180,000 ครั้ง ปี 2550 จำนวนลดลงเหลือเพียง 150,000 ครั้ง และมีแท็กซี่จอดรับผู้โดยสารเพียง 50,000 คัน หรือร้อยละ 35 เท่านั้น เนื่องจากการเรียกแท็กซี่สามารถเรียกได้ทั่วไป อีกทั้งจุดที่ทำป้ายจอดแท็กซี่อัจฉริยะ สร้างในจุดที่มีรถหนาแน่นอยู่แล้ว ประชาชน เรียกแท็กซี่ตรงไหนก็ได้ เหตุใดไม่ตั้งในพื้นที่ห่างใกล เช่น เขตหนองจอก มีนบุรี ซึ่งประชาชนมีความต้องการเรียกใช้บริการแท็กซี่
ผลการสำรวจของทีมงานของตนพบว่า เฉพาะถนนรัชดาภิเษกมีทั้งหมด 10 ป้ายจอด และปัจจุบันใช้การไม่ได้ คือ กดปุ่มสัญญาณไฟไม่ติด สูญเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ ตนเสนอสร้างที่จอดรถแท็กซี่อัจฉริยะในสำนักงานใหญ่ ๆ ธนาคาร คอนโดมิเนียม หมู่บ้านจัดสรรแทนโดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกลชุมชน พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า การตั้งป้ายแท็กซี่อัจฉริยะที่ผ่านมามีผลประโยชน์หรือไม่ เพราะสามารถติดป้ายโฆษณาได้
สำหรับป้ายจอดแท็กซี่ ติดตั้งมาตั้งแต่ปี 2549 มีประชาชนเรียกใช้บริการ 180,000 ครั้ง ปี 2550 จำนวนลดลงเหลือเพียง 150,000 ครั้ง และมีแท็กซี่จอดรับผู้โดยสารเพียง 50,000 คัน หรือร้อยละ 35 เท่านั้น เนื่องจากการเรียกแท็กซี่สามารถเรียกได้ทั่วไป อีกทั้งจุดที่ทำป้ายจอดแท็กซี่อัจฉริยะ สร้างในจุดที่มีรถหนาแน่นอยู่แล้ว ประชาชน เรียกแท็กซี่ตรงไหนก็ได้ เหตุใดไม่ตั้งในพื้นที่ห่างใกล เช่น เขตหนองจอก มีนบุรี ซึ่งประชาชนมีความต้องการเรียกใช้บริการแท็กซี่
ผลการสำรวจของทีมงานของตนพบว่า เฉพาะถนนรัชดาภิเษกมีทั้งหมด 10 ป้ายจอด และปัจจุบันใช้การไม่ได้ คือ กดปุ่มสัญญาณไฟไม่ติด สูญเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ ตนเสนอสร้างที่จอดรถแท็กซี่อัจฉริยะในสำนักงานใหญ่ ๆ ธนาคาร คอนโดมิเนียม หมู่บ้านจัดสรรแทนโดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกลชุมชน พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า การตั้งป้ายแท็กซี่อัจฉริยะที่ผ่านมามีผลประโยชน์หรือไม่ เพราะสามารถติดป้ายโฆษณาได้