สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนใน 16 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 3,083 ตัวอย่าง เกี่ยวกับการประกาศภาวะฉุกเฉิน และข้อดี-ข้อเสียของการยึดอำนาจ ผลปรากฏว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นก้ำกึ่งกัน คือ ร้อยละ 50.8 เห็นด้วยกับการประกาศภาวะฉุกเฉิน เพราะเหตุการณ์ความวุ่นวายจะได้ยุติโดยเร็ว ลดความรุนแรงของการปะทะ ไม่ให้เหตุการณ์รุนแรงบานปลาย ขณะที่ประชาชนร้อยละ 49.2 ระบุไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่ารัฐบาลควรแสดงความรับผิดชอบ เป็นเรื่องรุนแรงเกินไป และจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำลงไปอีก
เมื่อสอบถามว่า ถ้ามีการยึดอำนาจเกิดขึ้นจะมีข้อดีอะไรบ้าง ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 47.2 ระบุบ้านเมืองจะได้สงบสุขโดยเร็ว ความวุ่นวายจะได้น้อยลง การชุมนุมประท้วงจะได้ยุติ รองลงมาคือ ร้อยละ 22.8 ระบุไม่ให้เกิดการปะทะกัน ไม่ให้เหตุการณ์รุนแรงบานปลาย ร้อยละ 12.7 จะได้มีการเลือกตั้งใหม่ เปลี่ยนรัฐบาล ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่า ข้อเสียของการยึดอำนาจมีอะไรบ้าง ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.4 ระบุประเทศชาติจะเสียหาย ต่างประเทศจะต่อต้านไทย และขาดความเชื่อมั่น รองลงมาคือ ร้อยละ 57.5 ระบุเศรษฐกิจจะตกต่ำ วิกฤติลงไปอีก ร้อยละ 50.9 ระบุเป็นการทำลายประชาธิปไตย เป็นเผด็จการ ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา ตามลำดับ และเมื่อถามว่า ระหว่างข้อดีกับข้อเสียของการยึดอำนาจอย่างไหนจะมากกว่ากัน ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.2 เห็นว่าข้อเสียของการยึดอำนาจจะมากกว่าข้อดี ขณะที่ร้อยละ 32.8 คิดว่าข้อดีจะมากกว่า
เมื่อสอบถามว่า ถ้ามีการยึดอำนาจเกิดขึ้นจะมีข้อดีอะไรบ้าง ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 47.2 ระบุบ้านเมืองจะได้สงบสุขโดยเร็ว ความวุ่นวายจะได้น้อยลง การชุมนุมประท้วงจะได้ยุติ รองลงมาคือ ร้อยละ 22.8 ระบุไม่ให้เกิดการปะทะกัน ไม่ให้เหตุการณ์รุนแรงบานปลาย ร้อยละ 12.7 จะได้มีการเลือกตั้งใหม่ เปลี่ยนรัฐบาล ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่า ข้อเสียของการยึดอำนาจมีอะไรบ้าง ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.4 ระบุประเทศชาติจะเสียหาย ต่างประเทศจะต่อต้านไทย และขาดความเชื่อมั่น รองลงมาคือ ร้อยละ 57.5 ระบุเศรษฐกิจจะตกต่ำ วิกฤติลงไปอีก ร้อยละ 50.9 ระบุเป็นการทำลายประชาธิปไตย เป็นเผด็จการ ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา ตามลำดับ และเมื่อถามว่า ระหว่างข้อดีกับข้อเสียของการยึดอำนาจอย่างไหนจะมากกว่ากัน ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.2 เห็นว่าข้อเสียของการยึดอำนาจจะมากกว่าข้อดี ขณะที่ร้อยละ 32.8 คิดว่าข้อดีจะมากกว่า