กระทรวงสาธารณสุขนำร่องเปิดให้บริการตรวจสุขภาพผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะฟรี ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 1 แสนคน โดยจะเริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคมถึง 12 กันยายน ในโรงพยาบาล 7 แห่งคือ โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเลิศสิน โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี โรงพยาบาลสงฆ์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สถาบันประสาทวิทยา โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า โดยผู้ที่ผ่านการตรวจสุขภาพจะได้รับสติกเกอร์นำไปติดที่รถ เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับทราบ
ผู้โดยสารสาธารณะ ยอมรับว่า ชีวิตต้องเสี่ยงหากผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะมีโรคประจำตัว และไม่ได้ตรวจสุขภาพ เพราะไม่รู้ว่าเมื่อใดอาการจะกำเริบ ซึ่งทำให้พวกเขาไม่ปลอดภัยในการใช้บริการได้
ข้อมูลการตรวจสขุภาพของผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะในช่วง 7 ปีที่ผ่านมาของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะจำนวน 1 ใน 4 ที่ขับรถมากกว่าวันละ 8 ชั่วโมง ออกกำลังกายน้อยเพียงร้อยละ 21 เป็นโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 10 โรคเบาหวานร้อยละ 6 และพบว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงร้อยละ 50-60 คือสูบบุหรี่และดื่มสุรา
ผู้โดยสารสาธารณะ ยอมรับว่า ชีวิตต้องเสี่ยงหากผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะมีโรคประจำตัว และไม่ได้ตรวจสุขภาพ เพราะไม่รู้ว่าเมื่อใดอาการจะกำเริบ ซึ่งทำให้พวกเขาไม่ปลอดภัยในการใช้บริการได้
ข้อมูลการตรวจสขุภาพของผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะในช่วง 7 ปีที่ผ่านมาของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะจำนวน 1 ใน 4 ที่ขับรถมากกว่าวันละ 8 ชั่วโมง ออกกำลังกายน้อยเพียงร้อยละ 21 เป็นโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 10 โรคเบาหวานร้อยละ 6 และพบว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงร้อยละ 50-60 คือสูบบุหรี่และดื่มสุรา