สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ WWF สำนักงานประเทศไทย ผลักดันพื้นที่ชุ่มน้ำ 20 แห่งของไทย ให้ได้รับการเสนอขึ้นทะเบียนเป็น แรมซาไซต์ (Ramsar site)หรือพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ ตามอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ แรมซาไซต์ ที่ไทยเข้าร่วมเป็นภาคีตั้งแต่ปี 2541
หน่วยงานทั้งสอง ระบุว่า ไทยมีพื้นที่ที่เข้าหลักเกณฑ์ระดับนานาชาติถึง 61 แห่ง แต่เสนอครั้งนี้เพียง 20 แห่ง โดยเลือกพื้นที่ที่มีความโดดเด่นในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ และสามารถดำเนินงานเตรียมความพร้อมให้กับพื้นที่ได้ เช่น แม่น้ำโขง อ่าวปัตตานี ชายฝั่งทะเลหินกรูด หาดท้ายเหมือง เกาะพระทอง บึงบอระเพ็ด ลุ่มน้ำสาละวิน และลุ่มน้ำน่าน โดย WWF รับทำหน้าที่ไปทำความเข้าใจกับชุมชนในพื้นที่ ว่า การขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำโลก จะไม่มีการลิดรอนสิทธิในการเข้าใช้ทรัพยากร และยังไม่กระทบต่อการถือครองที่ดิน นอกจากนั้น การได้ขึ้นทะเบียนยังเป็นเครื่องมือในการดูแลพื้นที่อีกด้วย
ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น แรมซาไซต์ (Ramsar site) แล้ว 11 แห่ง ตามข้อตกลงที่นานาประเทศได้ร่วมจัดทำขึ้น เพื่ออนุรักษ์และสนับสนุนการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืน
หน่วยงานทั้งสอง ระบุว่า ไทยมีพื้นที่ที่เข้าหลักเกณฑ์ระดับนานาชาติถึง 61 แห่ง แต่เสนอครั้งนี้เพียง 20 แห่ง โดยเลือกพื้นที่ที่มีความโดดเด่นในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ และสามารถดำเนินงานเตรียมความพร้อมให้กับพื้นที่ได้ เช่น แม่น้ำโขง อ่าวปัตตานี ชายฝั่งทะเลหินกรูด หาดท้ายเหมือง เกาะพระทอง บึงบอระเพ็ด ลุ่มน้ำสาละวิน และลุ่มน้ำน่าน โดย WWF รับทำหน้าที่ไปทำความเข้าใจกับชุมชนในพื้นที่ ว่า การขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำโลก จะไม่มีการลิดรอนสิทธิในการเข้าใช้ทรัพยากร และยังไม่กระทบต่อการถือครองที่ดิน นอกจากนั้น การได้ขึ้นทะเบียนยังเป็นเครื่องมือในการดูแลพื้นที่อีกด้วย
ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น แรมซาไซต์ (Ramsar site) แล้ว 11 แห่ง ตามข้อตกลงที่นานาประเทศได้ร่วมจัดทำขึ้น เพื่ออนุรักษ์และสนับสนุนการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืน