ในการสัมมนารวมพลคนลอจิสติกส์ นายสมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า แม้ต้นทุนพลังงานจะเป็นปัญหาของระบบลอจิสติกส์ ของผู้ประกอบการขณะนี้ แต่การปรับตัวและการบริหารจัดการในการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ของผู้บริหารเป็นสิ่งสำคัญมากกว่า เพราะปัจจุบันทุกบริษัทสามารถเข้าถึงข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศได้ และหากผู้บริหารขาดวิสัยทัศน์ และไม่ปรับปรุงวิธีการผลิต และการขนส่งจะทำให้เสียเวลาการทำงานไปถึงร้อยละ 80 โดยไม่จำเป็น ขณะที่สินค้าการเกษตรมีต้นทุนในการขนส่งสูง เพราะเป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมากแต่มูลค่าต่ำ
ด้านนายวันเฉลิม นุ่มสุข ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด บริษัทซีแอลจีแอลเอสประเทศไทย กล่าวว่า ต้นทุนลอจิสติกส์ร้อยละ 20 เป็นค่าขนส่งและกระจายสินค้า ขณะที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความชำนาญเฉพาะด้านผลิต ทำให้การขนส่งกลายเป็นจุดอ่อน ทำให้เกิดธุรกิจขนส่ง และการกระจายเติบโตมากในช่วง 10 ปีที่ผ่าน และธุรกิจนี้ช่วยให้ผู้ผลิตสินค้า สามารถลดจำนวนบุคลากรได้ร้อยละ 50
ด้านนายวันเฉลิม นุ่มสุข ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด บริษัทซีแอลจีแอลเอสประเทศไทย กล่าวว่า ต้นทุนลอจิสติกส์ร้อยละ 20 เป็นค่าขนส่งและกระจายสินค้า ขณะที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความชำนาญเฉพาะด้านผลิต ทำให้การขนส่งกลายเป็นจุดอ่อน ทำให้เกิดธุรกิจขนส่ง และการกระจายเติบโตมากในช่วง 10 ปีที่ผ่าน และธุรกิจนี้ช่วยให้ผู้ผลิตสินค้า สามารถลดจำนวนบุคลากรได้ร้อยละ 50