ประเด็นหนึ่งในการสัมมนาวิชาการ ในวาระครบรอบ 15 ปีสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ภายใต้หัวข้อ "ภาวะโลกร้อนในบริบทของสังคมไทย" คือ ผลการเจรจาระดับโลกที่มีผลต่อการปรับตัว จากการศึกษาของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย พบว่า แผนปฏิบัติการของภาครัฐล้าสมัยกว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าในด้านภาคพลังงาน หรือภาคส่งเสริมการผลิต โดยเฉพาะในภาคการผลิตพบว่า มีการนำเอาเครื่องมือที่ใช้ในการลดภาวะโลกร้อน มาใช้ค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทางของภาคการผลิต
ดังนั้นการปรับตัวของประเทศไทยในภาคการผลิต จึงต้องมองเรื่องของการควบคุมต้นทาง คือ การเลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่ามากที่สุด
สำหรับภาพรวมการสัมมนาช่วงเช้าที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมกว่าพันคน โดยส่วนใหญ่เป็นประชาชนทั่วไป นอกนั้นเป็นนักวิชาการ ผู้ประกอบการธุรกิจ อุตสาหกรรม และนักเรียนนักศึกษา เพราะเนื่อหาการประชุมจะทำให้เห็นแนวทางการตั้งรับกับภาวะโลกร้อนได้ชัดเจนมากขึ้น และภายในงานมีกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาจัดแสดงด้วย ซึ่งการแจกพันธุ์ไม้ ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้เข้าร่วม ซึ่งต้องการนำกล้าไม้ไปปลูก ส่วนใหญ่กล่าวว่า ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว
สำหรับในช่วงบ่ายเป็นการแบ่งกลุ่มย่อย 5 กลุ่ม ซึ่งจะเป็นการพูดถึงวิกฤตและโอกาสของประเทศไทยในภาวะโลกร้อน
ดังนั้นการปรับตัวของประเทศไทยในภาคการผลิต จึงต้องมองเรื่องของการควบคุมต้นทาง คือ การเลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่ามากที่สุด
สำหรับภาพรวมการสัมมนาช่วงเช้าที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมกว่าพันคน โดยส่วนใหญ่เป็นประชาชนทั่วไป นอกนั้นเป็นนักวิชาการ ผู้ประกอบการธุรกิจ อุตสาหกรรม และนักเรียนนักศึกษา เพราะเนื่อหาการประชุมจะทำให้เห็นแนวทางการตั้งรับกับภาวะโลกร้อนได้ชัดเจนมากขึ้น และภายในงานมีกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาจัดแสดงด้วย ซึ่งการแจกพันธุ์ไม้ ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้เข้าร่วม ซึ่งต้องการนำกล้าไม้ไปปลูก ส่วนใหญ่กล่าวว่า ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว
สำหรับในช่วงบ่ายเป็นการแบ่งกลุ่มย่อย 5 กลุ่ม ซึ่งจะเป็นการพูดถึงวิกฤตและโอกาสของประเทศไทยในภาวะโลกร้อน