รศ.ดร.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ในวันที่ 1 สิงหาคมนี้ จะเกิดปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าจับตามอง อย่างสุริยุปราคาเต็มดวง ซึ่งจะเห็นได้ทุกภูมิภาค แต่เห็นเพียงบางส่วนเท่านั้น โดยภาคเหนือตอนบนจะเห็นปรากฏการณ์ได้ยาวนานที่สุด ขณะที่ภูมิภาคอื่นๆ จะเห็นในเวลาที่แตกต่างกัน อาทิ กรุงเทพฯ เริ่มเวลา 18.02 น. และดวงอาทิตย์จะตกลับขอบฟ้าตั้งแต่เวลา 18.46 น.
ทั้งนี้ การสังเกตปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วน ไม่สามารถชมได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งต้องใช้แผ่นกรองแสงสำหรับดูดวงอาทิตย์ แผ่นกรองแสงสำหรับช่างเชื่อมโลหะ หรือมองผ่านเมฆบางๆ ส่วนการสังเกตผ่านกล้องส่องตาหรือกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก ต้องใช้แผ่นกรองแสงที่มีคุณภาพสูง หรืออาจใช้วิธีฉายภาพผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กลงบนฉากรับภาพสีขาวแทน ก็จะสามารถติดตามปรากฏการณ์นี้ได้อย่างปลอดภัย
นอกจากนี้ ในวันที่ 17 สิงหาคมนี้ ก็จะเกิดจันทรุปราคาบางส่วน โดยดวงจันทร์จะค่อยๆ เคลื่อนเข้าสู่เงามืดของโลก จนกระทั่งถูกบดบังมากที่สุดที่เวลา 04.10 น. และจะสิ้นสุดปรากฏการณ์ในเวลา 06.55 น. แต่เนื่องจากดวงจันทร์จะตกลับขอบฟ้าที่เวลา 06.12 น. จึงไม่สามารถติดตามจนจบเหตุการณ์ได้
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ต้องการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ท้องฟ้าอย่างใกล้ชิด สามารถเข้าไปดูข้อมูลปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ ทั้งปรากฏการณ์ทางอุปราคา และฝนดาวตก ในปี 2551 ได้ที่ http://thaiastro.nectec.or.th
ทั้งนี้ การสังเกตปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วน ไม่สามารถชมได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งต้องใช้แผ่นกรองแสงสำหรับดูดวงอาทิตย์ แผ่นกรองแสงสำหรับช่างเชื่อมโลหะ หรือมองผ่านเมฆบางๆ ส่วนการสังเกตผ่านกล้องส่องตาหรือกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก ต้องใช้แผ่นกรองแสงที่มีคุณภาพสูง หรืออาจใช้วิธีฉายภาพผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กลงบนฉากรับภาพสีขาวแทน ก็จะสามารถติดตามปรากฏการณ์นี้ได้อย่างปลอดภัย
นอกจากนี้ ในวันที่ 17 สิงหาคมนี้ ก็จะเกิดจันทรุปราคาบางส่วน โดยดวงจันทร์จะค่อยๆ เคลื่อนเข้าสู่เงามืดของโลก จนกระทั่งถูกบดบังมากที่สุดที่เวลา 04.10 น. และจะสิ้นสุดปรากฏการณ์ในเวลา 06.55 น. แต่เนื่องจากดวงจันทร์จะตกลับขอบฟ้าที่เวลา 06.12 น. จึงไม่สามารถติดตามจนจบเหตุการณ์ได้
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ต้องการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ท้องฟ้าอย่างใกล้ชิด สามารถเข้าไปดูข้อมูลปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ ทั้งปรากฏการณ์ทางอุปราคา และฝนดาวตก ในปี 2551 ได้ที่ http://thaiastro.nectec.or.th