รัฐบาลผสมภายใต้การนำของพรรคคองเกรสได้รับชัยชนะในการลงคะแนนในญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจด้วยคะแนน 275 ต่อ 256 เสียงเมื่อวันอังคาร (22) ที่ผ่านมา
ทั้งนี้รัฐบาลอินเดียต้องการเสียงสนับสนุนเพื่อบริหารประเทศต่อไป ก่อนหมดวาระดำรงตำแหน่งในปีนี้
ชัยชนะดังกล่าวมีขึ้น หลังจาก ส.ส.บางคนต้องลงคะแนนโดยการยกมือ เนื่องจากเครื่องลงคะแนนมีปัญหา และความวุ่นวายซึ่งเกิดจาก ส.ส.ฝ่ายค้านจากพรรคชาตินิยมฮินดูภารติยะ ชนะตะ (บีเจพี) 3 คนที่ได้ลุกขึ้นมากล่าวหารัฐบาลกลางที่ประชุมว่า จ่ายเงินสินบนก้อนโตเพื่อแลกกับการงดออกเสียง
การได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภาในครั้งนี้ เปรียบเสมือนการให้ไฟเขียวกับรัฐบาลในการเดินหน้าลงนามข้อตกลงด้านพลังงานนิวเคลียร์กับสหรัฐฯ โดยข้อตกลงดังกล่าวจะทำให้อินเดียซึ่งเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครองและปฏิเสธที่จะลงนามในสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ได้รับการปฏิบัติเป็นกรณีพิเศษภายใต้เงื่อนไขที่ว่าอินเดียจะต้องแยกโครงการนิวเคลียร์เพื่อพลเรือนและการทหารออกจากกัน รวมถึงการอนุญาตให้คณะผู้ตรวจสอบนิวเคลียร์ของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เดินทางเข้าประเทศ
“การชนะโหวตในญัตติดังกล่าวเป็นการส่งสัญญาณที่สำคัญไปยังนานาประเทศว่าอินเดียพร้อมแล้วที่จะยืนอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม” นายกรัฐมนตรีมานโมฮัน ซิงห์กล่าว
อย่างไรก็ตามดานา เปริโน โฆษกทำเนียบขาวได้ออกมาเตือนว่า ขณะนี้สภาคองเกรสอาจเหลือเวลาไม่มากพอในการรับรองข้อตกลงดังกล่าว
ก่อนหน้านี้บรรดานักการเมืองจากพรรคฝ่ายซ้าย และพรรคบีเจพี แย้งว่า ข้อตกลงดังกล่าวจะทำให้อินเดียเอนเอียงไปทางสหรัฐฯ มากเกินไป รวมถึงทำให้การพัฒนาโครงการอาวุธนิวเคลียร์ของประเทศ และศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งอย่างปากีสถานด้อยลง
ทั้งนี้รัฐบาลอินเดียต้องการเสียงสนับสนุนเพื่อบริหารประเทศต่อไป ก่อนหมดวาระดำรงตำแหน่งในปีนี้
ชัยชนะดังกล่าวมีขึ้น หลังจาก ส.ส.บางคนต้องลงคะแนนโดยการยกมือ เนื่องจากเครื่องลงคะแนนมีปัญหา และความวุ่นวายซึ่งเกิดจาก ส.ส.ฝ่ายค้านจากพรรคชาตินิยมฮินดูภารติยะ ชนะตะ (บีเจพี) 3 คนที่ได้ลุกขึ้นมากล่าวหารัฐบาลกลางที่ประชุมว่า จ่ายเงินสินบนก้อนโตเพื่อแลกกับการงดออกเสียง
การได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภาในครั้งนี้ เปรียบเสมือนการให้ไฟเขียวกับรัฐบาลในการเดินหน้าลงนามข้อตกลงด้านพลังงานนิวเคลียร์กับสหรัฐฯ โดยข้อตกลงดังกล่าวจะทำให้อินเดียซึ่งเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครองและปฏิเสธที่จะลงนามในสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ได้รับการปฏิบัติเป็นกรณีพิเศษภายใต้เงื่อนไขที่ว่าอินเดียจะต้องแยกโครงการนิวเคลียร์เพื่อพลเรือนและการทหารออกจากกัน รวมถึงการอนุญาตให้คณะผู้ตรวจสอบนิวเคลียร์ของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เดินทางเข้าประเทศ
“การชนะโหวตในญัตติดังกล่าวเป็นการส่งสัญญาณที่สำคัญไปยังนานาประเทศว่าอินเดียพร้อมแล้วที่จะยืนอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม” นายกรัฐมนตรีมานโมฮัน ซิงห์กล่าว
อย่างไรก็ตามดานา เปริโน โฆษกทำเนียบขาวได้ออกมาเตือนว่า ขณะนี้สภาคองเกรสอาจเหลือเวลาไม่มากพอในการรับรองข้อตกลงดังกล่าว
ก่อนหน้านี้บรรดานักการเมืองจากพรรคฝ่ายซ้าย และพรรคบีเจพี แย้งว่า ข้อตกลงดังกล่าวจะทำให้อินเดียเอนเอียงไปทางสหรัฐฯ มากเกินไป รวมถึงทำให้การพัฒนาโครงการอาวุธนิวเคลียร์ของประเทศ และศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งอย่างปากีสถานด้อยลง