นายเผชิญ ไพโรจน์ศักดิ์ ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าผ่านทาง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ว่า คณะอนุกรรมการฯได้หารือกับบริษัททางด่วนกรุงเทพ ถึงรายละเอียดการปรับค่าผ่านทางโครงการทางพิเศษเฉลิมมหานครหรือระบบทางด่วนขั้นที่ 1 และโครงการทางพิเศษศรีรัชหรือระบบทางด่วนขั้นที่ 2 และรายละเอียดค่าผ่านทางโครงการทางพิเศษอุดรรัถยา หรือบางปะอิน-ปากเกร็ด อย่างไรก็ตาม บีอีซีแอลใช้อัตราค่าผ่านทางในปี 2546 คือ 45 บาท มาเป็นฐานในการคำนวณอัตราค่าผ่านทาง ขณะที่ กทพ.คำนวณจากฐานอัตราค่าผ่านทางในปี 2541 คือ 40 บาท ส่งผลให้ตัวเลขค่าผ่านทางใหม่ของทั้งสองฝ่ายแตกต่างกัน แต่คณะอนุกรรมการฯจะเสนออัตราค่าผ่านทางตามการคำนวณของ กทพ.ให้คณะกรรมการ กทพ.พิจารณาในการประชุมวันที่ 24 กรกฎาคม เพื่อให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ตามเงื่อนไขสัญญาสัมปทาน
สำหรับรายละเอียดค่าผ่านทางระบบทางด่วนขั้นที่ 1 และ 2 ที่จะเสนอให้คณะกรรมการ กทพ.พิจารณา คือรถยนต์ 4 ล้อ จัดเก็บ 45 บาท จากปัจจุบัน 40 บาท รถยนต์ 6-10 ล้อ จัดเก็บ 70 บาท จากปัจจุบัน 60 บาท และรถยนต์ตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป จัดเก็บในอัตรา 100 บาท จากปัจจุบัน 85 บาท ขณะที่บีอีซีแอลเสนอขอจัดเก็บในอัตรา 55 บาท 90 บาท และ 120 บาท
นอกจากนั้น กทพ.จะเสนอให้ประชาชนเป็นผู้รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่นเดียวกับระบบสาธารณูปโภคอื่น เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา และโทรศัพท์ เพราะปัจจุบัน กทพ.เป็นหน่วยงานรัฐเพียงแห่งเดียวที่รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ใช้ทาง ซึ่งในแต่ละปีจะมีค่าใช้จ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มคิดเป็นเงินเฉลี่ยปีละประมาณ 700 ล้านบาท หากคณะอนุกรรมการ กทพ.อนุมัติตามข้อเสนอ จะส่งผลให้อัตราค่าผ่านทางของระบบทางด่วนขั้นที่ 1 และ 2 เมื่อรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว จะเป็น 48 บาท 74 บาท และ 107 บาท สำหรับรถทั้ง 3 ประเภท
สำหรับรายละเอียดค่าผ่านทางระบบทางด่วนขั้นที่ 1 และ 2 ที่จะเสนอให้คณะกรรมการ กทพ.พิจารณา คือรถยนต์ 4 ล้อ จัดเก็บ 45 บาท จากปัจจุบัน 40 บาท รถยนต์ 6-10 ล้อ จัดเก็บ 70 บาท จากปัจจุบัน 60 บาท และรถยนต์ตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป จัดเก็บในอัตรา 100 บาท จากปัจจุบัน 85 บาท ขณะที่บีอีซีแอลเสนอขอจัดเก็บในอัตรา 55 บาท 90 บาท และ 120 บาท
นอกจากนั้น กทพ.จะเสนอให้ประชาชนเป็นผู้รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่นเดียวกับระบบสาธารณูปโภคอื่น เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา และโทรศัพท์ เพราะปัจจุบัน กทพ.เป็นหน่วยงานรัฐเพียงแห่งเดียวที่รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ใช้ทาง ซึ่งในแต่ละปีจะมีค่าใช้จ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มคิดเป็นเงินเฉลี่ยปีละประมาณ 700 ล้านบาท หากคณะอนุกรรมการ กทพ.อนุมัติตามข้อเสนอ จะส่งผลให้อัตราค่าผ่านทางของระบบทางด่วนขั้นที่ 1 และ 2 เมื่อรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว จะเป็น 48 บาท 74 บาท และ 107 บาท สำหรับรถทั้ง 3 ประเภท