นายกล้านรงค์ จันทิก โฆษกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. กล่าวถึงขั้นตอนการดำเนินการถอดถอนรัฐมนตรีออกจากตำแหน่ง กรณีปราสาทพระวิหารว่า เมื่อมีการยื่นเรื่องถอดถอน ประธานวุฒิสภาจะต้องตรวจสอบคำร้อง รายมือชื่อ พยานหลักฐาน ถ้าเห็นว่าสมบูรณ์แล้ว จึงจะส่งต่อให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อไต่สวน โดยอาจตั้งเป็นคณะอนุกรรมการ หรือ คณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่พิจารณาไต่สวน จากนั้นจะแจ้งให้ผู้ถูกร้องทราบ เพื่อเปิดโอกาสให้ชี้แจงข้อกล่าวหาทุกคน และวันใดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทั้งหมดมีมติเสียงข้างมากว่า คดีมีมูล ผู้ถูกร้องต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที
นายกล้านรงค์ ยังกล่าวอีกว่า จากนั้นจะแจ้งให้ประธานวุฒิสภาทราบ และเรียกประชุมเพื่อลงมติว่าถอดถอนหรือไม่ หากเห็นว่าถอดถอนต้องได้เสียง 3 ใน 5 หรือประมาณ 90 คน จาก 150 คน หากไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด ถือว่ามตินั้นตกไป สำหรับมาตรา 66 ถือว่าเป็นคนละประเด็น เพราะเป็นคดีอาญาหรือทุจริตต่อหน้าที่ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกัน
นายกล้านรงค์ ยังกล่าวอีกว่า จากนั้นจะแจ้งให้ประธานวุฒิสภาทราบ และเรียกประชุมเพื่อลงมติว่าถอดถอนหรือไม่ หากเห็นว่าถอดถอนต้องได้เสียง 3 ใน 5 หรือประมาณ 90 คน จาก 150 คน หากไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด ถือว่ามตินั้นตกไป สำหรับมาตรา 66 ถือว่าเป็นคนละประเด็น เพราะเป็นคดีอาญาหรือทุจริตต่อหน้าที่ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกัน