หลังจากที่ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ยังไม่ให้ดำเนินการตามคำแถลงการณ์ของรัฐบาลไทยที่สนับสนุนกัมพูชาให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว เนื่องจากมีหลายฝ่ายกังวลว่าอาจจะนำไปสู่การสูญเสียดินแดนและสูญเสียอธิปไตยของไทยในอนาคต โดยเฉพาะประเด็นพื้นที่ทับซ้อนโดยรอบปราสาทพระวิหารคิดเป็นพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร วันนี้จึงมีการจัดสัมมนาขึ้นเป็นการด่วน ในหัวข้อ "การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ปัญหากฎหมายและอธิปไตยของชาติ"
ทั้งนี้ ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ อดีตประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ไม่สามารถมาร่วมงานได้ แต่ได้ส่งวิดีทัศน์มาแทน โดยระบุว่า ไทยไม่ควรจะมีจุดยืนสนับสนุนคำแถลงการณ์ที่กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และหากเป็นไปได้ควรจะพยายามขอยกเลิกแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว เพราะการขึ้นทะเบียนแต่เพียงฝ่ายเดียว เท่ากับไทยยอมรับจุดยืนของกัมพูชา ฉะนั้นการที่จะแก้ปัญหาได้ตอนนี้ต้องพยายามยกเลิกแถลงการณ์ร่วมที่ไทยได้ร่วมลงนามไปแล้วที่กรุงปารีส และที่กรุงเทพฯ
ขณะเดียวกัน ศ.ดร.อดุล เสนอด้วยว่า ควรจะมีการตั้งคณะกรรมการนานาชาติเพื่อลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลในเรื่องดังกล่าวให้แน่ใจอีกครั้ง และนำข้อมูลที่ได้นำเสนอไปยังกัมพูชา เพื่อจะได้มีจุดยืนของไทยที่ชัดเจน
ก่อนหน้านี้ อาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม นักมานุษยวิทยา ที่ศึกษาเรื่องนี้มาตลอด กล่าวว่า เป็นเรื่องดีที่ศาลปกครองได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวออกมา เพื่อจะได้มาศึกษาในเรื่องดังกล่าวในรายละเอียดกันอีกครั้งหนึ่ง และที่สำคัญจะต้องมีการติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการมรดกโลกถึงจุดยืนของไทยที่แน่นอนในเรื่องนี้
ทั้งนี้ ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ อดีตประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ไม่สามารถมาร่วมงานได้ แต่ได้ส่งวิดีทัศน์มาแทน โดยระบุว่า ไทยไม่ควรจะมีจุดยืนสนับสนุนคำแถลงการณ์ที่กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และหากเป็นไปได้ควรจะพยายามขอยกเลิกแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว เพราะการขึ้นทะเบียนแต่เพียงฝ่ายเดียว เท่ากับไทยยอมรับจุดยืนของกัมพูชา ฉะนั้นการที่จะแก้ปัญหาได้ตอนนี้ต้องพยายามยกเลิกแถลงการณ์ร่วมที่ไทยได้ร่วมลงนามไปแล้วที่กรุงปารีส และที่กรุงเทพฯ
ขณะเดียวกัน ศ.ดร.อดุล เสนอด้วยว่า ควรจะมีการตั้งคณะกรรมการนานาชาติเพื่อลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลในเรื่องดังกล่าวให้แน่ใจอีกครั้ง และนำข้อมูลที่ได้นำเสนอไปยังกัมพูชา เพื่อจะได้มีจุดยืนของไทยที่ชัดเจน
ก่อนหน้านี้ อาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม นักมานุษยวิทยา ที่ศึกษาเรื่องนี้มาตลอด กล่าวว่า เป็นเรื่องดีที่ศาลปกครองได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวออกมา เพื่อจะได้มาศึกษาในเรื่องดังกล่าวในรายละเอียดกันอีกครั้งหนึ่ง และที่สำคัญจะต้องมีการติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการมรดกโลกถึงจุดยืนของไทยที่แน่นอนในเรื่องนี้