การสัมมนาฝ่าวิกฤตพลังงาน 51 มาตรการในการแก้ไขของภาครัฐ ซึ่ง พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา เปิดเผยว่า มาตรการในการแก้ไขปัญหาพลังงานของรัฐบาลยังไม่เข้มพอ ขณะนี้ยังเป็นมาตรการเพื่อ 3 ฉก. คือ เฉพาะกิจ เฉพาะกาล และเฉพาะกลุ่ม ซึ่งเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนในระยะสั้นเท่านั้น ส่วนระยะยาว รัฐบาลควรส่งเสริม และพัฒนาพลังงานทดแทน เช่น มาตรการลดภาษีสรรพสามิต และลดภาษีเพื่อช่วยเหลือประชาชน หรือลดภาษีให้แก่รถที่ใช้พลังงายน้อย รวมถึงการตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันอย่างใกล้ชิด
ส่วนความเป็นไปได้ของ อี 85 หรือ อี 20 พล.อ.เลิศรัตน์ เห็นว่า ยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร และไม่ง่ายนัก เพราะนโยบายบางประการไม่ชัดเจน ประชาชนส่วนใหญ่ยังสับสน รวมถึงเอ็นจีวีก็ยังเป็นปัญหาเรื่องการขาดแคลนสถานีบริการอยู่ ซึ่งในงานสัมมนาครั้งนี้ ได้เปิดรับฟังความเดือดรอ้น และผลกระทบจากวิกฤตพลังงาน รวมถึงขอ้เสนอแนะในการแก้ไขปัญหาจากผู้แทนกลุ่มต่างๆเพื่อเสนอต่อวุฒิสภา แล้วนำสู่การประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไไป
ส่วนความเป็นไปได้ของ อี 85 หรือ อี 20 พล.อ.เลิศรัตน์ เห็นว่า ยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร และไม่ง่ายนัก เพราะนโยบายบางประการไม่ชัดเจน ประชาชนส่วนใหญ่ยังสับสน รวมถึงเอ็นจีวีก็ยังเป็นปัญหาเรื่องการขาดแคลนสถานีบริการอยู่ ซึ่งในงานสัมมนาครั้งนี้ ได้เปิดรับฟังความเดือดรอ้น และผลกระทบจากวิกฤตพลังงาน รวมถึงขอ้เสนอแนะในการแก้ไขปัญหาจากผู้แทนกลุ่มต่างๆเพื่อเสนอต่อวุฒิสภา แล้วนำสู่การประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไไป