นายสุนทร วัชรกุลดิลก ผู้อำนวยการสำนักวิจัยการจัดการป่าไม้ กรมป่าไม้ โดยระบุว่า จากการสำรวจพบว่าในภาคใต้มีการปลูกยางพารามาถึง 80 เปอร์เซ็นต์ แต่ปัจจุบันมีการปลูกยางพาราในพื้นที่อนุรักษ์มากถึง 1.2 ล้านไร่ หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท การปลูกไม้ยางในพื้นที่ที่ไม่มีโฉนดถูกต้อง เช่น ใบภาษีบำรุงท้องที่ หรือใบ ภ.บ.ท.5 และ ภ.บ.ท.6 จะส่งผลให้เกษตรกรและผู้รับซื้อไม้ยางพาราขายไม้ไม่ได้ เพราะกลุ่มสหภาพยุโรป หรือ อียู ไม่รับซื้อเฟอร์นิเจอร์จากไม้ที่ไม่มีใบรับรองที่มาของไม้ รวมถึงที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ผลิต ซึ่งหากผู้ประกอบการรับซื้อไม้จากชาวบ้าน หรือนายทุนที่บุกรุกป่า จะไม่สามารถส่งออกสินค้าได้