การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2551 ส่วนใหญ่อภิปราย มุ่งเน้นถึงความชัดเจนของการกำหนดประเด็นที่จะสอบถามความเห็นจากประชาชน เพื่อให้การทำประชามติมีความชัดเจน นำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือประท้วงได้ในภายหลัง รวมทั้งประเด็นที่ให้คนไทยในต่างประเทศร่วมลงประชามติด้วย ซึ่งถือเป็นประเด็นที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.ให้ความสำคัญ และใช้เวลาถกเถียงกันอย่างมาก โดยนายสุขุมพงษ์ โง่นคำ ส.ส.พรรคพลังประชาชน อภิปรายท้วงติงถึงการให้คนไทยในต่างประเทศ สามารถลงประชามติได้ ซึ่งจะทำให้ต้องเสียงบประมาณในการดำเนินการจำนวนมหาศาล แม้จะเป็นสิทธิที่ทุกคนต้องการจะมีส่วนร่วม
ด้านนายชินวรณ์ บุญเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ เห็นด้วยกับการทำประชามติ แต่ควรกำหนดประเด็นให้ชัดเจนที่จะสอบถามประชาชนจะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง อย่างไรก็ตามที่ประชุมพึ่งเริ่มอภิปรายเพียง 2 ชั่วโมง โดยอภิปรายอย่างหลากหลาย ไม่ได้เรียงตามมาตรา แต่ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย และประเด็นที่จะให้ประชาชนได้ลงมติ
ด้านนายชินวรณ์ บุญเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ เห็นด้วยกับการทำประชามติ แต่ควรกำหนดประเด็นให้ชัดเจนที่จะสอบถามประชาชนจะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง อย่างไรก็ตามที่ประชุมพึ่งเริ่มอภิปรายเพียง 2 ชั่วโมง โดยอภิปรายอย่างหลากหลาย ไม่ได้เรียงตามมาตรา แต่ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย และประเด็นที่จะให้ประชาชนได้ลงมติ