ดร.เกษมสันต์ สุวรรณรัตน์ นายกสมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย กล่าวในการเสวนา "แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กครบวงจรที่เป็นสีเขียวของประเทศไทย" วานนี้ ( 11 มิ.ย.) ว่า ปัญหาต่อต้านอุตสาหกรรมเหล็ก โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม สามารถนำแนวทางแก้ปัญหาจากประเทศเนเธอร์แลนด์มาประยุกต์ใช้ได้ โดยแนวคิดหลักคือ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่มีข้อขัดแย้งนั้น ถอยกลับมา ณ จุดที่ตั้งเดิมของแต่ละฝ่าย ลดทิฐิ อัตตาลง ใช้ความมีเหตุผลเจรจาหาความร่วมมือมากขึ้น และระลึกเสมอว่า ประโยชน์ส่วนรวมนั้นมีจริง การขัดผลประโยชน์เป็นเพราะความไม่ลงรอย ใน กาละ เทศะ และสาระ ซึ่งสามารถประนีประนอม ไกล่เกลี่ยให้ประโยชน์ส่วนรวมนั้นกลับเป็นจริงได้โดยความร่วมมือของทุกฝ่าย
นายกสมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า แนวทางดังกล่าวจะเป็นวิธีการพัฒนานโยบาย (Policy making, decision making and promising) และการจัดเตรียมแผน (planning) ซึ่งถือเป็นหัวใจของการดำเนินการ (operation) โดยเกี่ยวข้องสามฝ่ายใหญ่ๆ คือ ราชการ ผู้ชำนาญตามสาขาวิชาชีพ และสาธารณชน ซึ่งมีขั้นตอนหลักๆ ประกอบด้วย การหาตัวแทนหลักของผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholders) ซึ่งสามารถให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการนี้ได้ การยืนยันจากผู้ต้นคิด ( Thinker) ไปยัง Stakeholders ให้ยอมรับถึงความสำคัญของความคิดเห็นร่วมกัน การสัมภาษณ์ตัวต่อตัวกับ Stakeholders ให้ออกความเห็นอย่างเต็มที่ การรวบรวมและจัดประเภทความคิดเห็นจาก Stakeholders ขึ้นอย่างเป็นระบบ เรียกว่า การรวบรวมสาระความคิดเห็น (Anthology) ซึ่งเปิดเผยต่อสาธารณะได้
จากนั้นก็ไปสู่ขั้นตอนการสังเคราะห์โดยที่ความคิดเห็นของ Stakeholders ทั้งหมด นำมาจัดสร้างเป็นวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาจัดทำร่างแผนปฏิบัติการเพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายตามที่กำหนดไว้ ในวิสัยทัศน์และกลยุทธ์
นายกสมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมฯ กล่าวว่า จากการที่ได้เคยนำเอากระบวนการนี้มาใช้กับโครงการจัดรูปแบบภูมิทัศน์ของเกาะรัตนโกสินทร์สามารถจัดให้ชุมชนมีความคิด และความเข้าใจตรงกันกับภาครัฐ แม้ว่าจะมีปัญหาในช่วงก่อนหน้าเกี่ยวกับพื้นที่ธุรกิจย่านท่าเตียน อยู่บ้างก็ตาม จึงเชื่อมั่นว่าจะสามารถนำแนวทางนี้มาใช้กับโครงการโรงงานถลุงเหล็กที่บางสะพาน และโครงการอื่นๆ ที่มีความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับภาครัฐ
นายกสมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า แนวทางดังกล่าวจะเป็นวิธีการพัฒนานโยบาย (Policy making, decision making and promising) และการจัดเตรียมแผน (planning) ซึ่งถือเป็นหัวใจของการดำเนินการ (operation) โดยเกี่ยวข้องสามฝ่ายใหญ่ๆ คือ ราชการ ผู้ชำนาญตามสาขาวิชาชีพ และสาธารณชน ซึ่งมีขั้นตอนหลักๆ ประกอบด้วย การหาตัวแทนหลักของผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholders) ซึ่งสามารถให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการนี้ได้ การยืนยันจากผู้ต้นคิด ( Thinker) ไปยัง Stakeholders ให้ยอมรับถึงความสำคัญของความคิดเห็นร่วมกัน การสัมภาษณ์ตัวต่อตัวกับ Stakeholders ให้ออกความเห็นอย่างเต็มที่ การรวบรวมและจัดประเภทความคิดเห็นจาก Stakeholders ขึ้นอย่างเป็นระบบ เรียกว่า การรวบรวมสาระความคิดเห็น (Anthology) ซึ่งเปิดเผยต่อสาธารณะได้
จากนั้นก็ไปสู่ขั้นตอนการสังเคราะห์โดยที่ความคิดเห็นของ Stakeholders ทั้งหมด นำมาจัดสร้างเป็นวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาจัดทำร่างแผนปฏิบัติการเพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายตามที่กำหนดไว้ ในวิสัยทัศน์และกลยุทธ์
นายกสมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมฯ กล่าวว่า จากการที่ได้เคยนำเอากระบวนการนี้มาใช้กับโครงการจัดรูปแบบภูมิทัศน์ของเกาะรัตนโกสินทร์สามารถจัดให้ชุมชนมีความคิด และความเข้าใจตรงกันกับภาครัฐ แม้ว่าจะมีปัญหาในช่วงก่อนหน้าเกี่ยวกับพื้นที่ธุรกิจย่านท่าเตียน อยู่บ้างก็ตาม จึงเชื่อมั่นว่าจะสามารถนำแนวทางนี้มาใช้กับโครงการโรงงานถลุงเหล็กที่บางสะพาน และโครงการอื่นๆ ที่มีความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับภาครัฐ