สหประชาชาติเรียกร้องให้ทั่วโลกเลิกพฤติกรรมที่ติดการใช้คาร์บอนไดออกไซด์จนกลายเป็นนิสัยทุกประเภท และขอให้ทุกคนต้องลงมือแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกอย่างจริงจัง ชูประเด็นรณรงค์ "ลดวิกฤตโลกร้อน: เปลี่ยนพฤติกรรม ปรับแนวคิด สู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ"
"โลกของเรากำลังอยู่ในกำมือของพฤติกรรมการสร้างคาร์บอนที่เป็นอันตราย ...เพราะมันทำให้เราปฏิเสธความจริงที่สำคัญ และปิดบังตาเราไม่ให้เห็นผลการกระทำของเรา" บันคีมุน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ แถลงเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก (5 มิถุนายน) ซึ่งมีการจัดงานในโอกาสนี้ตามที่ต่างๆ ทั่วโลก โดยงานใหญ่ที่สุดจัดขึ้นที่กรุงเวลลิงตัน เมืองหลวงของนิวซีแลนด์
บันชี้ว่าภาวะโลกร้อนว่าจะสร้างความเดือดร้อนให้กับทั้งคนรวยและคนจน และกล่าวอีกว่า "ไม่ว่าท่านจะเป็นบุคคลทั่วไป เป็นองค์กร เป็นธุรกิจ หรือรัฐบาลก็ตาม มีวิธีการมากมายที่ท่านสามารถจะทำเพื่อลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ นี่เป็นสาระสำคัญที่เราทั้งหมดจะต้องรับใส่ใจไว้"
ส่วน เฮเลน คลาร์ก นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ กล่าวว่า "เรารู้สึกภูมิใจกับอัตลักษณ์ของประเทศที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเราตั้งใจที่จะดำเนินการเพื่อรักษาอัตลักษณ์นี้ไว้ เรารู้สึกชื่นชมที่การปกป้องสภาพภูมิอากาศหมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเราแต่ละคนและเราทุกๆ คน"
ทั้งนี้ ในเอเชีย หลายประเทศใช้วาระวันสิ่งแวดล้อมเพื่อดำเนินการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการต่างๆ เช่น บังคลาเทศมีแผนการขจัดมลพิษในทะเลสาบกุลชาน บาริธารา กรุงกาฐมาณฑุของเนปาล จะเน้นประเด็นสิ่งแวดล้อมในช่วงเทศกาลแม่น้ำบัคมาติ นครบังกาลอร์และมุมไบของอินเดีย มีแผนรณรงค์ปลูกต้นไม้ ส่วนเมืองปูนาในอินเดียเช่นกันจะมีการเปิด "วัดสิ่งแวดล้อม" เพื่อสร้างความตระหนักในเรื่องนี้ให้มากขึ้น
นอกจากนั้น ในการประชุมสุดยอด 8 ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก(จี 8) ที่จะมีขึ้นที่ฮอกไกโด ประเทศญี่ป่นเดือนหน้า ก็จะมีการเตรียมการเพื่อให้ชาติร่ำรวยเหล่านี้ จัดทำเป้าหมายอย่างเป็นทางการในเรื่องการลดการปล่อยคาร์บอนได้ออกไซด์ทั่วโลกลงให้ต่ำกว่าระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในปี 1990 ให้ได้ 50 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2050 โดยที่มีบางประเทศเห็นว่าควรลดลงให้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ด้วยซ้ำ เพื่อจำกัดวงของปัญหาภาวะโลกร้อน
"โลกของเรากำลังอยู่ในกำมือของพฤติกรรมการสร้างคาร์บอนที่เป็นอันตราย ...เพราะมันทำให้เราปฏิเสธความจริงที่สำคัญ และปิดบังตาเราไม่ให้เห็นผลการกระทำของเรา" บันคีมุน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ แถลงเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก (5 มิถุนายน) ซึ่งมีการจัดงานในโอกาสนี้ตามที่ต่างๆ ทั่วโลก โดยงานใหญ่ที่สุดจัดขึ้นที่กรุงเวลลิงตัน เมืองหลวงของนิวซีแลนด์
บันชี้ว่าภาวะโลกร้อนว่าจะสร้างความเดือดร้อนให้กับทั้งคนรวยและคนจน และกล่าวอีกว่า "ไม่ว่าท่านจะเป็นบุคคลทั่วไป เป็นองค์กร เป็นธุรกิจ หรือรัฐบาลก็ตาม มีวิธีการมากมายที่ท่านสามารถจะทำเพื่อลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ นี่เป็นสาระสำคัญที่เราทั้งหมดจะต้องรับใส่ใจไว้"
ส่วน เฮเลน คลาร์ก นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ กล่าวว่า "เรารู้สึกภูมิใจกับอัตลักษณ์ของประเทศที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเราตั้งใจที่จะดำเนินการเพื่อรักษาอัตลักษณ์นี้ไว้ เรารู้สึกชื่นชมที่การปกป้องสภาพภูมิอากาศหมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเราแต่ละคนและเราทุกๆ คน"
ทั้งนี้ ในเอเชีย หลายประเทศใช้วาระวันสิ่งแวดล้อมเพื่อดำเนินการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการต่างๆ เช่น บังคลาเทศมีแผนการขจัดมลพิษในทะเลสาบกุลชาน บาริธารา กรุงกาฐมาณฑุของเนปาล จะเน้นประเด็นสิ่งแวดล้อมในช่วงเทศกาลแม่น้ำบัคมาติ นครบังกาลอร์และมุมไบของอินเดีย มีแผนรณรงค์ปลูกต้นไม้ ส่วนเมืองปูนาในอินเดียเช่นกันจะมีการเปิด "วัดสิ่งแวดล้อม" เพื่อสร้างความตระหนักในเรื่องนี้ให้มากขึ้น
นอกจากนั้น ในการประชุมสุดยอด 8 ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก(จี 8) ที่จะมีขึ้นที่ฮอกไกโด ประเทศญี่ป่นเดือนหน้า ก็จะมีการเตรียมการเพื่อให้ชาติร่ำรวยเหล่านี้ จัดทำเป้าหมายอย่างเป็นทางการในเรื่องการลดการปล่อยคาร์บอนได้ออกไซด์ทั่วโลกลงให้ต่ำกว่าระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในปี 1990 ให้ได้ 50 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2050 โดยที่มีบางประเทศเห็นว่าควรลดลงให้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ด้วยซ้ำ เพื่อจำกัดวงของปัญหาภาวะโลกร้อน