องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ระบุ มีอยู่ 22 ประเทศทั่วโลก ที่เสี่ยงจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤตอาหารโลกในขณะนี้ ส่วนใหญ่เป็นประเทศในแถบแอฟริกา แต่มีกัมพูชาและเกาหลีเหนือติดเข้าไปด้วย
รายงานขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ เผยว่า ประเทศที่ได้รับความเดือดร้อนหนักสุดจากวิกฤติอาหาร ก็คือ เอริเทรีย ไนเจอร์ โคโมรอส เฮติ และไลบีเรีย ซึ่งตามปกติประเทศเหล่านี้ก็เต็มไปด้วยผู้อดอยากหิวโหยอยู่แล้ว และยังต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารและเชื้อเพลิงจากต่างชาติ เมื่ออาหารมีราคาแพงขึ้น ความเดือดร้อนจึงยิ่งเพิ่มขึ้นทวีคูณ
รายงานยังเตือนให้ทั่วโลกเตรียมพร้อมรับมือกับราคาอาหารที่จะพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงตลาดอาหารที่จะผันผวนต่อไปอีกสักระยะ โดยราคาอาหารที่พุ่งสูง จะส่งผลให้มีผู้อดอยากยากไร้เพิ่มมากขึ้น และสถานการณ์ก็อาจบานปลายทำให้บางประเทศถึงขั้นเกิดเหตุประท้วง หรือก่อจลาจล ซึ่งเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ก็ได้เกิดเหตุจลาจลแย่งชิงอาหาร ในเฮติ อียิปต์ และโซมาเลีย
ขณะที่ผู้นำจากประเทศต่างๆ มีกำหนดจะร่วมประชุม 3 วัน ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี ในสัปดาห์หน้า จึงถือเป็นโอกาสดีที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ จะได้เสนอแนวทางต่อสู้กับปัญหาความอดอยากยากไร้ และแนวทางเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
รายงานขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ เผยว่า ประเทศที่ได้รับความเดือดร้อนหนักสุดจากวิกฤติอาหาร ก็คือ เอริเทรีย ไนเจอร์ โคโมรอส เฮติ และไลบีเรีย ซึ่งตามปกติประเทศเหล่านี้ก็เต็มไปด้วยผู้อดอยากหิวโหยอยู่แล้ว และยังต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารและเชื้อเพลิงจากต่างชาติ เมื่ออาหารมีราคาแพงขึ้น ความเดือดร้อนจึงยิ่งเพิ่มขึ้นทวีคูณ
รายงานยังเตือนให้ทั่วโลกเตรียมพร้อมรับมือกับราคาอาหารที่จะพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงตลาดอาหารที่จะผันผวนต่อไปอีกสักระยะ โดยราคาอาหารที่พุ่งสูง จะส่งผลให้มีผู้อดอยากยากไร้เพิ่มมากขึ้น และสถานการณ์ก็อาจบานปลายทำให้บางประเทศถึงขั้นเกิดเหตุประท้วง หรือก่อจลาจล ซึ่งเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ก็ได้เกิดเหตุจลาจลแย่งชิงอาหาร ในเฮติ อียิปต์ และโซมาเลีย
ขณะที่ผู้นำจากประเทศต่างๆ มีกำหนดจะร่วมประชุม 3 วัน ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี ในสัปดาห์หน้า จึงถือเป็นโอกาสดีที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ จะได้เสนอแนวทางต่อสู้กับปัญหาความอดอยากยากไร้ และแนวทางเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา