พลเรือเอกทิโมธี คีติง ผู้บัญชาการกองกำลังทหารสหรัฐฯ ในมหาสมุทรแปซิฟิค กล่าวว่า การที่รัฐบาลพม่ายังคงไม่มีทีท่าว่าจะยอมรับสิ่งของบรรเทาทุกข์บนเรือรบสหรัฐฯ รวมถึงเรือรบยูเอสเอส เอสเซ็กซ์ อาจทำให้เขาตัดสินใจสั่งการหันหัวเรือรบออกจากพื้นที่ในเร็วๆ นี้
“หลังจากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่พม่า ผมจึงไม่คิดว่าเรือรบยูเอสเอส เวสเซ็กซ์จะเทียบท่าอยู่ที่นั่นนานเป็นสัปดาห์ เราคงพิจารณาเรื่องนี้อีกครั้งในอีกไม่กี่วัน” พลเรือเอกคีติงกล่าว
ผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯ กล่าวด้วยว่า จากการประเมินพบว่า กองทัพสหรัฐฯ สามารถให้ความช่วยเหลือประชาชนชาวพม่าได้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ประสบภัยในแถบลุ่มแม่น้ำอิรวดีซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็กที่พ่อแม่เสียชีวิตแล้ว และกำลังต้องการอาหาร น้ำดื่ม และที่พักอาศัยอย่างเร่งด่วน โดยบนเรือรบ สหรัฐฯ ยังได้มีการเตรียมเฮลิคอปเตอร์ที่พร้อมนำสิ่งของเข้าไปให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ห่างไกลอีกด้วย
ก่อนหน้านี้รัฐบาลพม่ายอมรับเงินช่วยเหลือหลายล้านดอลลาร์จากรัฐบาลสหรัฐฯ รวมถึงจากองค์กรบรรเทาทุกข์และรัฐบาลประเทศอื่นๆ และอนุญาตให้สหรัฐฯ นำเครื่องบินลำเลียงสิ่งของบรรเทาทุกข์เข้าไปในพม่าได้ อย่างไรก็ตามพม่ายังคงไม่อนุญาตให้กองทัพสหรัฐฯ นำสิ่งของบรรเทาทุกข์ทั้งอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งของจำเป็นบนเรือรบ เข้าไปในพื้นที่ประสบภัย เนื่องจากหวั่นเกรงผลกระทบที่อาจมีต่อการยึดอำนาจหลังการปฏิวัติเมื่อปี 1962
ทั้งนี้จากคำบอกเล่าของพยานต่างระบุว่า ยังคงมีชาวพม่าจำนวนมากที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากภายนอก หลังพายุไซโคลนนาร์กีสพัดถล่มพม่าเมื่อ 4 สัปดาห์ที่แล้ว จนทำให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายถึง 134,000 ราย และยังคงมีผู้ประสบภัยที่หิวโหยและรอคอยความช่วยเหลือกว่า 2,400,000 คน
“หลังจากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่พม่า ผมจึงไม่คิดว่าเรือรบยูเอสเอส เวสเซ็กซ์จะเทียบท่าอยู่ที่นั่นนานเป็นสัปดาห์ เราคงพิจารณาเรื่องนี้อีกครั้งในอีกไม่กี่วัน” พลเรือเอกคีติงกล่าว
ผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯ กล่าวด้วยว่า จากการประเมินพบว่า กองทัพสหรัฐฯ สามารถให้ความช่วยเหลือประชาชนชาวพม่าได้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ประสบภัยในแถบลุ่มแม่น้ำอิรวดีซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็กที่พ่อแม่เสียชีวิตแล้ว และกำลังต้องการอาหาร น้ำดื่ม และที่พักอาศัยอย่างเร่งด่วน โดยบนเรือรบ สหรัฐฯ ยังได้มีการเตรียมเฮลิคอปเตอร์ที่พร้อมนำสิ่งของเข้าไปให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ห่างไกลอีกด้วย
ก่อนหน้านี้รัฐบาลพม่ายอมรับเงินช่วยเหลือหลายล้านดอลลาร์จากรัฐบาลสหรัฐฯ รวมถึงจากองค์กรบรรเทาทุกข์และรัฐบาลประเทศอื่นๆ และอนุญาตให้สหรัฐฯ นำเครื่องบินลำเลียงสิ่งของบรรเทาทุกข์เข้าไปในพม่าได้ อย่างไรก็ตามพม่ายังคงไม่อนุญาตให้กองทัพสหรัฐฯ นำสิ่งของบรรเทาทุกข์ทั้งอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งของจำเป็นบนเรือรบ เข้าไปในพื้นที่ประสบภัย เนื่องจากหวั่นเกรงผลกระทบที่อาจมีต่อการยึดอำนาจหลังการปฏิวัติเมื่อปี 1962
ทั้งนี้จากคำบอกเล่าของพยานต่างระบุว่า ยังคงมีชาวพม่าจำนวนมากที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากภายนอก หลังพายุไซโคลนนาร์กีสพัดถล่มพม่าเมื่อ 4 สัปดาห์ที่แล้ว จนทำให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายถึง 134,000 ราย และยังคงมีผู้ประสบภัยที่หิวโหยและรอคอยความช่วยเหลือกว่า 2,400,000 คน