นายสมชัย จึงประเสริฐ กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านการสอบสวนและวินิจฉัย กล่าวถึงกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ระบุว่าหาก กกต.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติล่าช้า จะออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) มาบังคับใช้แทนว่า ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาว่ารัฐบาลจะสามารถออก พ.ร.ก.มาบังคับใช้ได้หรือไม่ แต่ กกต.ในฐานะหน่วยปฏิบัติ เมื่อมีกฎหมายออกมาบังคับ กกต.ต้องปฏิบัติตาม อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ประเทศกำลังมีปัญหา ดังนั้น ทุกฝ่ายควรช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งมากกว่า
ด้านนายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า ขณะนี้กฎหมายเกี่ยวกับการทำประชามติยังไม่มี และรัฐธรรมนูญมาตรา 165 กำหนดให้การออกเสียงประชามติต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ ซึ่งในมาตรา 302 วรรคท้าย ระบุให้ กกต.เป็นผู้จัดทำร่าง พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ หากใช้บททั่วไปออกเป็น พ.ร.ก.อาจจะมีปัญหาในเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขณะนี้ กกต.ได้มอบหมายให้ที่ปรึกษาพรรคการเมืองไปดูในเรื่องการจัดทำร่าง พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ ซึ่งตามกรอบเวลาจะครบกำหนด 1 ปี ในเดือนสิงหาคมนี้ ขณะนี้ กกต.กำลังเร่งยกร่างฯ ซึ่งจะต้องทำอย่างรอบคอบ เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน โดยเฉพาะเรื่องที่จะเป็นปัญหา และไม่ชอบโดยรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ หากคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า รัฐบาลสามารถออก พ.ร.ก.ประชามติ ได้ กกต.พร้อมจะปฏิบัติหรือไม่ นายสุทธิพล กล่าวว่า กกต.ทำงานภายใต้กรอบของกฎหมาย หากมีกฎหมายรองรับที่ชัดเจน แต่ขณะนี้ตัวหลักเกณฑ์การออกเสียงประชามติยังไม่มี ข้อกำหนดของ พ.ร.บ.ก็ยังไม่มี ดังนั้น หากมีกฎหมายรองรับที่ชัดเจน กกต.ในฐานะองค์กรที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ก็ยินดีที่จะปฏิบัติตาม
นายสุทธิพล กล่าวอีกว่า กระบวนการที่จะนำไปสู่กฎหมายดังกล่าว อยากให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องพิจารณาให้รอบคอบ เพราะจะมีแนวทางการปฏิบัติ ทั้งผู้จัดออกเสียงประชามติ เนื้อหาที่จะทำประชามติ ไม่เช่นนั้นจะทำให้ประชาชนเข้าใจยาก อยากให้รัฐบาลกำหนดให้ชัดเจนว่าประชาชนเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในประเด็นใด เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากในการอธิบาย เนื่องจากขณะนี้ไม่มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) คอยประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ จึงต้องเป็นหน้าที่ กกต.ที่จะทำความเข้าใจกับประชาชน
ด้านนายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า ขณะนี้กฎหมายเกี่ยวกับการทำประชามติยังไม่มี และรัฐธรรมนูญมาตรา 165 กำหนดให้การออกเสียงประชามติต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ ซึ่งในมาตรา 302 วรรคท้าย ระบุให้ กกต.เป็นผู้จัดทำร่าง พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ หากใช้บททั่วไปออกเป็น พ.ร.ก.อาจจะมีปัญหาในเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขณะนี้ กกต.ได้มอบหมายให้ที่ปรึกษาพรรคการเมืองไปดูในเรื่องการจัดทำร่าง พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ ซึ่งตามกรอบเวลาจะครบกำหนด 1 ปี ในเดือนสิงหาคมนี้ ขณะนี้ กกต.กำลังเร่งยกร่างฯ ซึ่งจะต้องทำอย่างรอบคอบ เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน โดยเฉพาะเรื่องที่จะเป็นปัญหา และไม่ชอบโดยรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ หากคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า รัฐบาลสามารถออก พ.ร.ก.ประชามติ ได้ กกต.พร้อมจะปฏิบัติหรือไม่ นายสุทธิพล กล่าวว่า กกต.ทำงานภายใต้กรอบของกฎหมาย หากมีกฎหมายรองรับที่ชัดเจน แต่ขณะนี้ตัวหลักเกณฑ์การออกเสียงประชามติยังไม่มี ข้อกำหนดของ พ.ร.บ.ก็ยังไม่มี ดังนั้น หากมีกฎหมายรองรับที่ชัดเจน กกต.ในฐานะองค์กรที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ก็ยินดีที่จะปฏิบัติตาม
นายสุทธิพล กล่าวอีกว่า กระบวนการที่จะนำไปสู่กฎหมายดังกล่าว อยากให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องพิจารณาให้รอบคอบ เพราะจะมีแนวทางการปฏิบัติ ทั้งผู้จัดออกเสียงประชามติ เนื้อหาที่จะทำประชามติ ไม่เช่นนั้นจะทำให้ประชาชนเข้าใจยาก อยากให้รัฐบาลกำหนดให้ชัดเจนว่าประชาชนเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในประเด็นใด เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากในการอธิบาย เนื่องจากขณะนี้ไม่มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) คอยประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ จึงต้องเป็นหน้าที่ กกต.ที่จะทำความเข้าใจกับประชาชน