นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ตรวจระบบป้องกันภัยพิบัติและโครงสร้างอาคารสูง และโรงเรียนย่านสาทร บางรัก โดยเข้าตรวจสอบที่โรงแรมเวสทิน บันยันทรี ถ.สาทรใต้ เขตสาทร และโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก ถ.เจริญกรุง เขตบางรัก เพื่อเตรียมพร้อมรับมือเหตุสาธารณภัย อาทิ แผ่นดินไหว เพลิงไหม้ สร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชนกรุงเทพมหานคร ซึ่งผลการตรวจพบว่า โรงแรมและโรงเรียนที่ตรวจสอบมีระบบการก่อสร้างที่ดี คำนึงถึงกฎหมายควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งมีมาตรการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมีการซักซ้อมอพยพในกรณีเกิดเหตุแผ่นดินไหว หรือเพลิงไหม้ทุกๆ 3 เดือน และอบรมนักเรียนให้มีความรู้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ พร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงตามจุดต่าง ๆ อย่างเพียงพอ และตรวจสอบสภาพถังดับเพลิงเป็นประจำทุกวัน
นายอภิรักษ์ กล่าวว่า ปัจจุบันในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีอาคารสูง และอาคารที่เข้าข่ายระวังความเสี่ยง จำนวน 3,000 แห่ง ซึ่ง กทม. ได้มีมาตรการในการส่งเจ้าหน้าที่จากสำนักการโยธา สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและสำนักงานเขต เข้าไปตรวจสอบอาคาร และโรงเรียนในแต่ละพื้นที่ว่าอาคารอยู่ในสภาพดี ปลอดภัยต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ โดยเน้นการบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาคารในกรุงเทพมหานคร กฎกระทรวงฉบับใหม่ที่ใช้ควบคุมอาคาร และกฎกระทรวงว่าด้วยการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นที่รองรับอาคารในการต้านแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 ที่ผ่านมา ในการตรวจสอบ รวมทั้งการแนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเมื่อเกิดเหตุสาธารณภัยขึ้นให้กับเจ้าของอาคารและประชาชนทั่วไป ตลอดจนซักซ้อมแผนรับมือเหตุสาธารณภัยต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง อันจะเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน อย่างไรก็ดี ผู้ว่าฯ กทม. ได้แจ้งเตือนประชาชนว่าไม่ควรตื่นตระหนกต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวในกรุงเทพมหานคร เพราะโอกาสจะเกิดในกรุงเทพฯ เป็นไปได้ยาก แต่เตรียมรับผลกระทบเนื่องจากรอยร้าวที่อาจเกิดขึ้นจากจุดอื่นๆ เช่น จ.กาญจนบุรี
นายอภิรักษ์ กล่าวว่า ปัจจุบันในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีอาคารสูง และอาคารที่เข้าข่ายระวังความเสี่ยง จำนวน 3,000 แห่ง ซึ่ง กทม. ได้มีมาตรการในการส่งเจ้าหน้าที่จากสำนักการโยธา สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและสำนักงานเขต เข้าไปตรวจสอบอาคาร และโรงเรียนในแต่ละพื้นที่ว่าอาคารอยู่ในสภาพดี ปลอดภัยต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ โดยเน้นการบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาคารในกรุงเทพมหานคร กฎกระทรวงฉบับใหม่ที่ใช้ควบคุมอาคาร และกฎกระทรวงว่าด้วยการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นที่รองรับอาคารในการต้านแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 ที่ผ่านมา ในการตรวจสอบ รวมทั้งการแนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเมื่อเกิดเหตุสาธารณภัยขึ้นให้กับเจ้าของอาคารและประชาชนทั่วไป ตลอดจนซักซ้อมแผนรับมือเหตุสาธารณภัยต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง อันจะเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน อย่างไรก็ดี ผู้ว่าฯ กทม. ได้แจ้งเตือนประชาชนว่าไม่ควรตื่นตระหนกต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวในกรุงเทพมหานคร เพราะโอกาสจะเกิดในกรุงเทพฯ เป็นไปได้ยาก แต่เตรียมรับผลกระทบเนื่องจากรอยร้าวที่อาจเกิดขึ้นจากจุดอื่นๆ เช่น จ.กาญจนบุรี