นายนิกร บุญศรี อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ปัจจุบันได้เก็บเงินค่าผ่านทางเส้นทางมอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ - พัทยา เริ่มจากด่านอำเภอพานทอง จ.ชลบุรี เท่านั้น แต่ขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นชอบให้เก็บเงินค่าผ่านทางที่ปรับใหม่ โดยจะเริ่มเก็บเงินค่าผ่านทาง ในปี 2554 ในเบื้องต้นจะมีการเก็บในอัตรากิโลเมตรละ 1 บาท โดยแบ่งเป็นเส้นทาง วงแหวนตะวันออก-กาญจนาภิเษก เริ่มจากบางปะอิน - ด่านธัญบุรี - ด่านทับช้าง - พัทยา โดยเส้นทางดังกล่าวผู้ผ่านทางจะเดินทางไปภาคตะวันออก เดิมจะเก็บค่าผ่านทางด่านละ 30 บาท รวมเป็น 90 บาท แต่หากมีการเก็บตามระยะทาง ในปี 2554 จะเป็นเงิน 120 บาท ส่วนอีกเส้นทางคือ เส้นทางกรุงเทพฯ - พัทยา ที่เริ่มจากพระราม 9 - ด่านลาดกระบัง - ด่านพานทอง ตลอดเส้นทางจะเสียเงินค่าผ่านทางเป็นเงิน 60 บาท ระบบใหม่จ่ายเพิ่มเป็นเงิน 90 บาท
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการลดภาระให้กับประชาชนที่ใช้บริการมอร์เตอ์เวย์ กรมทางหลวงได้จึงเตรียมขยายเส้นทางคู่ขนานกับเส้นทางสายที่ต้องจ่ายเงินค่าผ่านทาง เพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชนที่ไม่ต้องการเสียเงินค่าผ่านทาง โดยเส้นทางมอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ - พัทยา ขณะนี้ได้ก่อสร้างทางคู่ขนานไปแล้ว เหลือระยะทางเพียง 30 กิโลเมตร ที่ยังไม่มีการก่อสร้าง กรมทางหลวงจึงได้เตรียมของบประมาณ 1,000 ล้านบาท จากคณะรัฐมนตรี เพื่อใช้ในการก่อสร้างเส้นทางคู่ขนานเพิ่มเติมในส่วนที่เหลือ รวมถึงใช้ในการปรับปรุงทางขนานเดิมที่ได้ก่อสร้างไปแล้วก่อนหน้านี้ รวมไปถึงแผนการก่อสร้างทางคู่ขนานในเส้นทางอื่นๆ ทุกเส้นทาง ที่มีการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ เพราะประชาชนเป็นเจ้าของที่ดินสองข้างทางที่มีการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ จะไม่ยินยอมให้มีก่อสร้างมอเตอร์เวย์ หากไม่มีการก่อสร้างทางขนาน เพราะจะได้รับความเดือดร้อนจากการก่อสร้าง ไม่สามารถเข้า-ออกที่ดินของตนเองได้
นายนิกร กล่าวว่า ความจริงแล้วทั่วโลกไม่มีการก่อสร้างทางขนาน หากมีการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ แต่สำหรับประเทศไทยจำเป็นต้องมีการก่อสร้างทางขนานคู่ไปด้วย ซึ่งทำให้กรมทางหลวงต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ เพิ่มขึ้น เช่น เส้นทางมอเตอร์เวย์ นครราชสีมา-บางปะอิน ระยะทาง 100 กม. ใช้งบประมาณในการก่อสร้างถึง 59,000 ล้านบาท และ เส้นทางบางปะอิน-นครสวรรค์ ที่กำลังจะปรับปรุงให้เป็นมอเตอร์เวย์ ใช้งบประมาณถึง 20,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการลดภาระให้กับประชาชนที่ใช้บริการมอร์เตอ์เวย์ กรมทางหลวงได้จึงเตรียมขยายเส้นทางคู่ขนานกับเส้นทางสายที่ต้องจ่ายเงินค่าผ่านทาง เพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชนที่ไม่ต้องการเสียเงินค่าผ่านทาง โดยเส้นทางมอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ - พัทยา ขณะนี้ได้ก่อสร้างทางคู่ขนานไปแล้ว เหลือระยะทางเพียง 30 กิโลเมตร ที่ยังไม่มีการก่อสร้าง กรมทางหลวงจึงได้เตรียมของบประมาณ 1,000 ล้านบาท จากคณะรัฐมนตรี เพื่อใช้ในการก่อสร้างเส้นทางคู่ขนานเพิ่มเติมในส่วนที่เหลือ รวมถึงใช้ในการปรับปรุงทางขนานเดิมที่ได้ก่อสร้างไปแล้วก่อนหน้านี้ รวมไปถึงแผนการก่อสร้างทางคู่ขนานในเส้นทางอื่นๆ ทุกเส้นทาง ที่มีการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ เพราะประชาชนเป็นเจ้าของที่ดินสองข้างทางที่มีการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ จะไม่ยินยอมให้มีก่อสร้างมอเตอร์เวย์ หากไม่มีการก่อสร้างทางขนาน เพราะจะได้รับความเดือดร้อนจากการก่อสร้าง ไม่สามารถเข้า-ออกที่ดินของตนเองได้
นายนิกร กล่าวว่า ความจริงแล้วทั่วโลกไม่มีการก่อสร้างทางขนาน หากมีการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ แต่สำหรับประเทศไทยจำเป็นต้องมีการก่อสร้างทางขนานคู่ไปด้วย ซึ่งทำให้กรมทางหลวงต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ เพิ่มขึ้น เช่น เส้นทางมอเตอร์เวย์ นครราชสีมา-บางปะอิน ระยะทาง 100 กม. ใช้งบประมาณในการก่อสร้างถึง 59,000 ล้านบาท และ เส้นทางบางปะอิน-นครสวรรค์ ที่กำลังจะปรับปรุงให้เป็นมอเตอร์เวย์ ใช้งบประมาณถึง 20,000 ล้านบาท