ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชของสหรัฐฯ กล่าวกับสถานีโทรทัศน์ซีบีเอสเมื่อวันจันทร์ (12) ว่า ผู้ประสบภัยจากเหตุพายุนาร์กีสในพม่าถ้าไม่ถูกโดดเดี่ยวก็ถูกเมินเฉย ขณะที่รัฐบาลพม่าไม่เคยออกมาระบุถึงจำนวนผู้เสียชีวิตที่แน่ชัดแต่อย่างใด
“ปฏิกิริยาของรัฐบาลพม่าต่อผู้ประสบภัย และต่อความช่วยเหลือของนานาชาติเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ประเทศต่างๆ ในโลกควรแสดงความไม่พอใจและออกมาประณามรัฐบาลพม่า นอกเหนือจากเหตุผลข้อแรกก็คือ การที่รัฐบาลพม่าได้กักบริเวณนางอองซานซูจี ผู้นำประชาธิปไตย มานานกว่า 18 ปี แต่ในขณะนี้ซึ่งเป็นเวลาที่พม่าประสบกับภัยพิบัติครั้งใหญ่ รัฐบาลพม่าก็ยังคงไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากนานาประเทศที่หยิบยื่นให้แต่อย่างใด” บุชกล่าว
ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้เขาได้ยื่นข้อเสนอที่จะส่งเรือรบซึ่งประจำการอยู่นอกชายฝั่งของไทยเข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย แต่ก็ไม่ได้รับการยินยอมจากรัฐบาลพม่าเช่นกัน
“ในที่สุดเครื่องบินของสหรัฐฯ ก็ได้บินเข้าไปยังพม่า ถึงอย่างไรปฏิกิริยาของรัฐบาลพม่าในขณะนี้ก็ยังไม่สู้ดีนัก” ผู้นำสหรัฐฯ กล่าว
ทั้งนี้กองทัพสหรัฐฯ ได้ส่งเครื่องบินซี-130 ซึ่งบรรทุกสิ่งของบรรเทาทุกข์กว่า 12 ตัน บินไปยังพม่าเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยกว่า 2 ล้านคนเป็นเที่ยวบินแรกเมื่อวันจันทร์ (12) ที่ผ่านมา
“ปฏิกิริยาของรัฐบาลพม่าต่อผู้ประสบภัย และต่อความช่วยเหลือของนานาชาติเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ประเทศต่างๆ ในโลกควรแสดงความไม่พอใจและออกมาประณามรัฐบาลพม่า นอกเหนือจากเหตุผลข้อแรกก็คือ การที่รัฐบาลพม่าได้กักบริเวณนางอองซานซูจี ผู้นำประชาธิปไตย มานานกว่า 18 ปี แต่ในขณะนี้ซึ่งเป็นเวลาที่พม่าประสบกับภัยพิบัติครั้งใหญ่ รัฐบาลพม่าก็ยังคงไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากนานาประเทศที่หยิบยื่นให้แต่อย่างใด” บุชกล่าว
ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้เขาได้ยื่นข้อเสนอที่จะส่งเรือรบซึ่งประจำการอยู่นอกชายฝั่งของไทยเข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย แต่ก็ไม่ได้รับการยินยอมจากรัฐบาลพม่าเช่นกัน
“ในที่สุดเครื่องบินของสหรัฐฯ ก็ได้บินเข้าไปยังพม่า ถึงอย่างไรปฏิกิริยาของรัฐบาลพม่าในขณะนี้ก็ยังไม่สู้ดีนัก” ผู้นำสหรัฐฯ กล่าว
ทั้งนี้กองทัพสหรัฐฯ ได้ส่งเครื่องบินซี-130 ซึ่งบรรทุกสิ่งของบรรเทาทุกข์กว่า 12 ตัน บินไปยังพม่าเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยกว่า 2 ล้านคนเป็นเที่ยวบินแรกเมื่อวันจันทร์ (12) ที่ผ่านมา