นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 (สคร.7) จ.อุบลราชธานี เปิดเผยว่า ช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคอีสาน 294 ราย โดย จ.กาฬสินธุ์ มีผู้ป่วยมากที่สุด รองลงมาคือ ศรีสะเกษ ยโสธร และมุกดาหาร แต่ยังไม่มีผู้เสียชีวิต และมีแนวโน้มอัตราการป่วยจะเพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้ยุงเจริญเติบโตเร็ว แต่วงจรชีวิตของยุงสั้นลง ยุงตัวเล็กลง ปัญหาที่สำคัญคือยุงกินเลือดบ่อยขึ้น เพราะมีระบบการย่อยเลือดดี เมื่อยุงกินเลือดบ่อย เกิดการกระจายของโรคได้ดี จึงมีแนวโน้มการติดเชื้อสูง
นายแพทย์สมศักดิ์ กล่าวว่า ที่น่าเป็นห่วงอีกอย่างคือ ปัจจุบันไม่ได้พบเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเฉพาะในยุงตัวเมียเท่านั้น แต่ยังพบในยุงตัวผู้และลูกน้ำ แสดงว่ายุงตัวแม่สามารถถ่ายทอดเชื้อไวรัสไปยังลูกได้ ดังนั้น ยุงในธรรมชาติบางส่วนจึงมีเชื้อไข้เลือดออกอยู่ในตัวแล้ว และไข้เลือดออกที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค สามารถกระจายเชื้อติดต่อได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในเด็กอ้วน เมื่อติดเชื้อจะมีปัญหาในการรักษา หากสงสัยมีอาการติดเชื้อควรรีบพบแพทย์ทันที ส่วนการป้องกันที่ดีและง่าย คือ ทุกครัวเรือนต้องกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
นายแพทย์สมศักดิ์ กล่าวว่า ที่น่าเป็นห่วงอีกอย่างคือ ปัจจุบันไม่ได้พบเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเฉพาะในยุงตัวเมียเท่านั้น แต่ยังพบในยุงตัวผู้และลูกน้ำ แสดงว่ายุงตัวแม่สามารถถ่ายทอดเชื้อไวรัสไปยังลูกได้ ดังนั้น ยุงในธรรมชาติบางส่วนจึงมีเชื้อไข้เลือดออกอยู่ในตัวแล้ว และไข้เลือดออกที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค สามารถกระจายเชื้อติดต่อได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในเด็กอ้วน เมื่อติดเชื้อจะมีปัญหาในการรักษา หากสงสัยมีอาการติดเชื้อควรรีบพบแพทย์ทันที ส่วนการป้องกันที่ดีและง่าย คือ ทุกครัวเรือนต้องกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง