นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากการที่ประเทศไทยได้ลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 เมษายน ที่ผ่านมา หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการลงนามดังกล่าว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2551 โดยอาเซียนและญี่ปุ่นตกลงที่จะเปิดเผยรายละเอียดความตกลงให้ทราบเป็นการทั่วไป หลังจากลงนามครบทั้ง 10 ประเทศ หลังจากนั้นแต่ละประเทศสมาชิกจะดำเนินกระบวนการภายใน เพื่อแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน สำหรับประเทศไทยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน
ทั้งนี้ ความตกลงระดับภูมิภาคของอาเซียน-ญี่ปุ่น (JTEPA) จะครอบคลุมการค้าสินค้า บริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยไทยเสนอเปิดเสรีตามข้อผูกพันในระดับทวิภาคี ในส่วนของญี่ปุ่นจะยกเลิกภาษีร้อยละ 90 ของมูลค่าสินค้านำเข้าจากอาเซียนทั้งหมดทันทีที่บังคับใช้ความตกลง และลด/ยกเลิกภาษีอีกร้อยละ 6.7 ภายใน 10 ปี ซึ่งจะมีผลให้ไทยได้รับประโยชน์จาก AJCEP โดยญี่ปุ่นจะลดภาษีเร็วกว่า JTEPA จำนวน 71 รายการ เช่น ปลาหมึกปรุงแต่ง ผงโกโก้ แวฟเฟิลและเวเฟอร์ พิซซ่าแช่แข็ง เพสทรี และขนมจำพวกเบเกอรี่อื่น ๆ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้สะสมแหล่งกำเนิดสินค้า โดยใช้วัตถุดิบภายในภูมิภาค และผ่อนคลายกฎแหล่งกำเนิดสินค้าที่ยืดหยุ่นมากกว่า JTEPA อีกหลายรายการ ดังนั้น ผู้ประกอบการและผู้ส่งออกจะสามารถเลือกส่งออกภายใต้ JTEPA หรือ AJCEP เพื่อได้สิทธิประโยชน์ที่ดีกว่าได้
ปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของอาเซียน มีมูลค่าการค้า 162,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการลงทุนในอาเซียนเป็นอันดับ 1 คิดเป็นมูลค่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่ามูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากจากความตกลง AJCEP
ทั้งนี้ ความตกลงระดับภูมิภาคของอาเซียน-ญี่ปุ่น (JTEPA) จะครอบคลุมการค้าสินค้า บริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยไทยเสนอเปิดเสรีตามข้อผูกพันในระดับทวิภาคี ในส่วนของญี่ปุ่นจะยกเลิกภาษีร้อยละ 90 ของมูลค่าสินค้านำเข้าจากอาเซียนทั้งหมดทันทีที่บังคับใช้ความตกลง และลด/ยกเลิกภาษีอีกร้อยละ 6.7 ภายใน 10 ปี ซึ่งจะมีผลให้ไทยได้รับประโยชน์จาก AJCEP โดยญี่ปุ่นจะลดภาษีเร็วกว่า JTEPA จำนวน 71 รายการ เช่น ปลาหมึกปรุงแต่ง ผงโกโก้ แวฟเฟิลและเวเฟอร์ พิซซ่าแช่แข็ง เพสทรี และขนมจำพวกเบเกอรี่อื่น ๆ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้สะสมแหล่งกำเนิดสินค้า โดยใช้วัตถุดิบภายในภูมิภาค และผ่อนคลายกฎแหล่งกำเนิดสินค้าที่ยืดหยุ่นมากกว่า JTEPA อีกหลายรายการ ดังนั้น ผู้ประกอบการและผู้ส่งออกจะสามารถเลือกส่งออกภายใต้ JTEPA หรือ AJCEP เพื่อได้สิทธิประโยชน์ที่ดีกว่าได้
ปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของอาเซียน มีมูลค่าการค้า 162,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการลงทุนในอาเซียนเป็นอันดับ 1 คิดเป็นมูลค่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่ามูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากจากความตกลง AJCEP