นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ในจังหวัดอุดรธานี และหนองคาย พบว่าขณะนี้ประเทศไทยมีผู้เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียจำนวน 25 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยเด็กร้อยละ 30-40 และมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 80,000 คนต่อปี เนื่องจากโรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อ และแม่เป็นพาหะไปสู่ลูก เมื่อเด็กคลอดออกมาจะทำให้เด็กเกิดการผิดปกติที่เม็ดเลือดแดงที่แตกตัวเร็วกว่าปกติ เด็กจะมีอาการซีดเลือดจาง แขนขาเล็กลีบ ท้องโต เพราะตับ และม้ามโต ซึ่งผู้ป่วยจะมีอายุขัยเฉลี่ย 20 -30 ปี
นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ ระบุอีกว่า มักพบความผิดปกติทางพันธุกรรมของโรคธาลัสซีเมีย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือมากที่สุด โดยจังหวัดเชียงใหม่ มีพ่อแม่เป็นพาหะสูงสุดร้อยละ 70 รองลงมา คือ จังหวัดอุดรธานี และหนองคาย ซึ่งเป็นพาหะร้อยละ 50 ดังนั้น การรณรงค์ให้คู่สมรสตรวจคัดกรองเลือดก่อนแต่งงาน หรือก่อนมีบุตร เป็นสิ่งที่กรมอนามัย สั่งให้ทุกโรงพยาบาลดำเนินการ เพื่อป้องกันผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียรายใหม่
นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ ระบุอีกว่า มักพบความผิดปกติทางพันธุกรรมของโรคธาลัสซีเมีย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือมากที่สุด โดยจังหวัดเชียงใหม่ มีพ่อแม่เป็นพาหะสูงสุดร้อยละ 70 รองลงมา คือ จังหวัดอุดรธานี และหนองคาย ซึ่งเป็นพาหะร้อยละ 50 ดังนั้น การรณรงค์ให้คู่สมรสตรวจคัดกรองเลือดก่อนแต่งงาน หรือก่อนมีบุตร เป็นสิ่งที่กรมอนามัย สั่งให้ทุกโรงพยาบาลดำเนินการ เพื่อป้องกันผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียรายใหม่