นายวสันต์ ภูพิชิต ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง อ.นครไทย จ.พิษณุโลก พร้อมนายพรชัย ศรีศักดิ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติตาดหมอก นักวิชาการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นำคณะเข้าสำรวจเป็นประจำทุกปีของช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน เพื่อติดตามวงจรชีวิตของแมงกะพรุนน้ำจืดในลำน้ำเข็ก เขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ต.บ้านแยง หลังจากค้นพบครั้งแรกเมื่อปี 2548 ซึ่งการสำรวจวันนี้พบว่า บริเวณแก่งท่าเดื่อ หมู่ 12 บ้านเข็กพัฒนา ต.บ้านแยง มีแมงกะพรุนน้ำจืดแหวกว่ายในกระแสน้ำนิ่งจำนวนมาก และห่างไปประมาณ 4 กิโลเมตร พบว่าบริเวณแอ่งน้ำตกแก่งโสภา ชั้นที่ 2 สูง 10 เมตร ซึ่งเป็นจุดน้ำนิ่ง มีแมงกะพรุนน้ำจืดขนาดโตเต็มวัยผุดว่ายจำนวนมากเช่นกัน
นายพรชัย กล่าวว่า แมงกะพรุนน้ำจืดในลำน้ำเข็ก เป็นตัวบ่งชี้ว่าธรรมชาติของลำน้ำยังมีความบริสุทธิ์ โดยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Crasapedacusta Sowerbyi ชื่อสามัญว่า Freshwater Jellyfish มีขนาดประมาณเหรียญ 5 หรือเหรียญ 10 บาท กินแพลงก์ตอน สัตว์เล็ก ๆ ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นอาหาร ช่วงเวลาที่พบ คือ ฤดูร้อนที่อากาศอบอุ่นและน้ำนิ่ง หรือช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน พบมากช่วงเช้ากับเย็น ส่วนเที่ยงวันอากาศร้อน แมงกะพรุนจะหลบอยู่ใต้น้ำ
นายพรชัย กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมามีผู้ลักลอบจับแมงกะพรุนบริเวณแก่งวังน้ำเย็น เขต อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ไปขายตัวละ 40-60 บาท ซึ่งเป็นความผิด เพราะอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ นอกจากนี้ สารเคมีจากเกษตรกรรมในพื้นที่ต้นน้ำ บริเวณบ้านเข็กน้อย อาจส่งผลกระทบต่อวงจรชีวิตของแมงกะพรุนน้ำจืดได้ ดังนั้น ทุกปีจึงต้องติดตามการเกิดขึ้นในชั้นตัวเต็มวัย เพราะผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมจะทำให้แมงกะพรุนสูญพันธุ์
นายพรชัย กล่าวว่า แมงกะพรุนน้ำจืดในลำน้ำเข็ก เป็นตัวบ่งชี้ว่าธรรมชาติของลำน้ำยังมีความบริสุทธิ์ โดยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Crasapedacusta Sowerbyi ชื่อสามัญว่า Freshwater Jellyfish มีขนาดประมาณเหรียญ 5 หรือเหรียญ 10 บาท กินแพลงก์ตอน สัตว์เล็ก ๆ ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นอาหาร ช่วงเวลาที่พบ คือ ฤดูร้อนที่อากาศอบอุ่นและน้ำนิ่ง หรือช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน พบมากช่วงเช้ากับเย็น ส่วนเที่ยงวันอากาศร้อน แมงกะพรุนจะหลบอยู่ใต้น้ำ
นายพรชัย กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมามีผู้ลักลอบจับแมงกะพรุนบริเวณแก่งวังน้ำเย็น เขต อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ไปขายตัวละ 40-60 บาท ซึ่งเป็นความผิด เพราะอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ นอกจากนี้ สารเคมีจากเกษตรกรรมในพื้นที่ต้นน้ำ บริเวณบ้านเข็กน้อย อาจส่งผลกระทบต่อวงจรชีวิตของแมงกะพรุนน้ำจืดได้ ดังนั้น ทุกปีจึงต้องติดตามการเกิดขึ้นในชั้นตัวเต็มวัย เพราะผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมจะทำให้แมงกะพรุนสูญพันธุ์