นายบุญสนอง สุชาติพงศ์ โฆษกกรมชลประทาน เปิดเผยว่า อธิบดีกรมชลประทานได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ชลประทานทั่วประเทศ เข้าไปสำรวจพื้นที่การเกษตรทั้งหมด ที่ต้องใช้น้ำในช่วงเดือนเมษายนจนถึงเดือนพฤษภาคม เพื่อวางแผนจัดสรรน้ำให้เพียงพอในช่วงดังกล่าว โดยจะสรุปข้อมูลทั้งหมดภายในวันที่ 31 มีนาคมนี้
อย่างไรก็ตาม กรมชลประทานต้องการให้เกษตรกรงดปลูกข้าวนาปรังในรุ่นต่อไป ถึงแม้ว่าจะอยู่ในเขตชลประทานก็ตาม เพราะว่าไม่อยากให้เสี่ยง เนื่องจากอาจจะมีปัญหาฝนทิ้งช่วง และจัดสรรน้ำได้ไม่เพียงพอ เพราะน้ำที่มีอยู่ต้องใช้สำหรับใช้อุปโภคบริโภคไล่น้ำเค็ม และน้ำเน่าเสียในช่วงฤดูแล้งด้วย
สำหรับสถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ขณะนี้มีน้ำประมาณ 47,000 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยน้อยกว่าปีที่แล้วในช่วงเดียวกัน 6 เปอร์เซ็นต์ ส่วนปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำรวมกัน 13,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่สามารถใช้งานได้ 6,600 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งทั้ง 2 เขื่อนนั้นระบายน้ำสู่แม่น้ำเจ้าพระยาวันละประมาณ 60 ล้านลูกบาศก์เมตร
อย่างไรก็ตาม กรมชลประทานต้องการให้เกษตรกรงดปลูกข้าวนาปรังในรุ่นต่อไป ถึงแม้ว่าจะอยู่ในเขตชลประทานก็ตาม เพราะว่าไม่อยากให้เสี่ยง เนื่องจากอาจจะมีปัญหาฝนทิ้งช่วง และจัดสรรน้ำได้ไม่เพียงพอ เพราะน้ำที่มีอยู่ต้องใช้สำหรับใช้อุปโภคบริโภคไล่น้ำเค็ม และน้ำเน่าเสียในช่วงฤดูแล้งด้วย
สำหรับสถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ขณะนี้มีน้ำประมาณ 47,000 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยน้อยกว่าปีที่แล้วในช่วงเดียวกัน 6 เปอร์เซ็นต์ ส่วนปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำรวมกัน 13,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่สามารถใช้งานได้ 6,600 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งทั้ง 2 เขื่อนนั้นระบายน้ำสู่แม่น้ำเจ้าพระยาวันละประมาณ 60 ล้านลูกบาศก์เมตร