นายบุญสนอง สุชาติพงษ์ โฆษกกรมชลประทาน กล่าวว่า จากการสำรวจพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังในเขตชลประทานทั่วประเทศ พบว่ามีการปลูกเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ถึง 1.86 ล้านไร่ จากกำหนดไว้ 7.53 ล้านไร่ เพิ่มเป็น 8.39 ล้านไร่ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากข้าวมีราคาดี บางพื้นที่ในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้ลงปลูกข้าวนาปรังเป็นครั้งที่ 3 แล้ว สำหรับเกษตรกรที่ลงปลูกไปแล้วในช่วงเดือนนี้ กรมชลประทานยังมีน้ำเพียงพอจัดสรรให้จนถึงเดือนเมษายนนี้เท่านั้น
นายวราวุฒิ ขันติยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า ขณะนี้สภาพพื้นที่เกษตรโดยรวมเริ่มมีความแห้งแล้งแต่ยังไม่รุนแรงเท่ากับปีที่แล้ว ซึ่งสำนักฝนหลวงฯ เตรียมพร้อมรับมือป้องกันภัยแล้ว โดยตั้งฐานปฏิบัติการฝนหลวง แล้ว 7 แห่ง กระจายทั่วประเทศ และขึ้นบินทำฝนหลวงทุกวันที่สภาพอากาศมีความชื้นเหมาะสม
การทำฝนหลวงช่วงนี้เน้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออก เป็นหลัก ซึ่งภาคเหนือจะมีปัญหาหมอกและควันไฟจากการเผาไร่ของเกษตรกร และไฟป่า ส่วนภาคตะวันออก จะต้องช่วยเหลือพื้นที่สวนไม้ผล ซึ่งผลผลิตเงาะและทุเรียนของเกษตรกรกำลังทยอยออกสู่ตลาดในเดือนหน้า หากไม่เร่งช่วยเหลือจะทำให้ผลผลิตเสียหายได้ ซึ่งที่ผ่านมาการทำฝนหลวงถือว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจในหลายพื้นที่
นายวราวุฒิ ขันติยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า ขณะนี้สภาพพื้นที่เกษตรโดยรวมเริ่มมีความแห้งแล้งแต่ยังไม่รุนแรงเท่ากับปีที่แล้ว ซึ่งสำนักฝนหลวงฯ เตรียมพร้อมรับมือป้องกันภัยแล้ว โดยตั้งฐานปฏิบัติการฝนหลวง แล้ว 7 แห่ง กระจายทั่วประเทศ และขึ้นบินทำฝนหลวงทุกวันที่สภาพอากาศมีความชื้นเหมาะสม
การทำฝนหลวงช่วงนี้เน้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออก เป็นหลัก ซึ่งภาคเหนือจะมีปัญหาหมอกและควันไฟจากการเผาไร่ของเกษตรกร และไฟป่า ส่วนภาคตะวันออก จะต้องช่วยเหลือพื้นที่สวนไม้ผล ซึ่งผลผลิตเงาะและทุเรียนของเกษตรกรกำลังทยอยออกสู่ตลาดในเดือนหน้า หากไม่เร่งช่วยเหลือจะทำให้ผลผลิตเสียหายได้ ซึ่งที่ผ่านมาการทำฝนหลวงถือว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจในหลายพื้นที่