ศ.อานนท์ บุณยะรัตเวช เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้วิจัยปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่เมื่อปีที่แล้ว โดยพบว่ามีสาเหตุจากไฟป่า และการเผาป่าบุกรุกที่ของประชาชน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ และภาวะโลกร้อน โดยพบว่าชั้นบรรยากาศของคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้นอย่างชัดเจน รวมถึงกระทบต่อการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกข้าวหอมมะลิ
อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะทราบผลการวิจัยในส่วนนี้อย่างชัดเจนไม่เกิน 6 เดือน สำหรับผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน พบว่าฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศครอบคลุม 8 จังหวัดภาคเหนือ มีขนาดเล็กกว่า 50 ไมครอน ที่สำคัญคือมีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งหากสูดเข้าสู่ปอด จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยจะเห็นว่าในช่วงเวลาดังกล่าว มีประชาชนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง ตา และหลอดเลือด
นอกจากนี้ วช.ยังเก็บตัวฝุ่นละอองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อทำการศึกษาวิจัยด้วย แต่ติดขัดเรื่องอุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ต้องใช้เวลาในการดำเนินการ
อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะทราบผลการวิจัยในส่วนนี้อย่างชัดเจนไม่เกิน 6 เดือน สำหรับผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน พบว่าฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศครอบคลุม 8 จังหวัดภาคเหนือ มีขนาดเล็กกว่า 50 ไมครอน ที่สำคัญคือมีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งหากสูดเข้าสู่ปอด จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยจะเห็นว่าในช่วงเวลาดังกล่าว มีประชาชนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง ตา และหลอดเลือด
นอกจากนี้ วช.ยังเก็บตัวฝุ่นละอองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อทำการศึกษาวิจัยด้วย แต่ติดขัดเรื่องอุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ต้องใช้เวลาในการดำเนินการ