กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรีนำคณะเครือข่ายแรงงานหญิง 44 เครือข่าย อาทิ แรงงานหญิงอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ประกอบด้วยอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นต้น แรงงานหญิงจากจังหวัดสระบุรี เช่น แรงงานอุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์ เป็นต้น ร่วมกันชุมนุมด้านหน้าอาคารที่ทำการสหประชาชาติ จากนั้นเดินขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องทวงสิทธิการมีส่วนร่วมของผู้หญิง ในการบริหารจัดการไตรภาคีในกระทรวงแรงงาน และการให้มีการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กเล็ก ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม เพื่อผู้หญิงที่ต้องทำงานหาเลี้ยงครอบครัวและเลี้ยงลูกด้วยในเวลาเดียวกัน
นางเพลินพิศ ศรีศิริ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี กล่าวว่า เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม จึงเป็นโอกาสที่แรงงานหญิงในประเทศได้มารวมตัวกันประกาศให้โลกรู้ว่าแรงงานหญิงในประเทศได้รับการปฏิบัติอย่างไร จึงเลือกจุดเริ่มต้นเป็นหน้าอาคารสหประชาชาติ
ทั้งนี้ เมื่อ 15 ปีก่อน กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรีได้รวมตัวกันเรียกร้องให้รัฐกำหนดวันลาคลอดของแรงงานหญิง 90 วันได้สำเร็จ แต่สำหรับสภาพเศรษฐกิจประเทศไทยขณะนี้ ผู้หญิงต้องทำงานไปด้วยเลี้ยงลูกไปด้วย จึงมีความจำเป็นต้องหาที่เลี้ยงเด็กในระหว่างทำงาน และพบว่าเกิดปัญหาถูกหักค่าแรง เนื่องจากต้องลางานไปรับส่งลูกที่สถานเลี้ยงเด็ก เพราะสถานเลี้ยงเด็กของเอกชนจะเปิดทำการเวลาเดียวกับเวลาทำงาน จึงอยากเรียกร้องเรื่องศูนย์เลี้ยงเด็กในวันนี้
นางเพลินพิศ ศรีศิริ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี กล่าวว่า เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม จึงเป็นโอกาสที่แรงงานหญิงในประเทศได้มารวมตัวกันประกาศให้โลกรู้ว่าแรงงานหญิงในประเทศได้รับการปฏิบัติอย่างไร จึงเลือกจุดเริ่มต้นเป็นหน้าอาคารสหประชาชาติ
ทั้งนี้ เมื่อ 15 ปีก่อน กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรีได้รวมตัวกันเรียกร้องให้รัฐกำหนดวันลาคลอดของแรงงานหญิง 90 วันได้สำเร็จ แต่สำหรับสภาพเศรษฐกิจประเทศไทยขณะนี้ ผู้หญิงต้องทำงานไปด้วยเลี้ยงลูกไปด้วย จึงมีความจำเป็นต้องหาที่เลี้ยงเด็กในระหว่างทำงาน และพบว่าเกิดปัญหาถูกหักค่าแรง เนื่องจากต้องลางานไปรับส่งลูกที่สถานเลี้ยงเด็ก เพราะสถานเลี้ยงเด็กของเอกชนจะเปิดทำการเวลาเดียวกับเวลาทำงาน จึงอยากเรียกร้องเรื่องศูนย์เลี้ยงเด็กในวันนี้