นายพิภพ อุดร อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของกระทรวงการคลัง ว่า เป็นมาตรการที่อ่อน และช่วยเศรษฐกิจทางอ้อมมากกว่าไม่ว่าจะเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีรายได้ 150,000 บาท การลดหย่อนเบี้ยประกัน เพราะมาตรการเหล่านี้ประชาชนจะรับรู้ในปีหน้า ส่วนการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเอสเอ็มอี กำไร 150,000 บาท จากเดิมรายได้ 1 ล้านบาทแรกต้องเสียภาษีร้อยละ 15 ส่วนที่เกิน 1 - 3 ล้านบาท เสียร้อยละ 25 ก็ไม่เป็นผลอะไร ทั้งที่จริงแล้วเอสเอ็มอี รายใดมีกำไรมากก็ควรลดภาษีลงเพื่อเป็นแรงจูงใจ
ขณะที่มาตรการให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลดหย่อนภาษีจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25 ก็เชื่อว่าไม่เป็นผล เพราะบริษัทที่จะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ก็มีแผนอยู่แล้ว ส่วนการตรึงภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 ปัจจุบันผู้บริโภคก็ไม่ได้จ่ายเงินเพิ่มอยู่แล้ว และสิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับมาตรการนี้ คือ การลดค่าธรรมเนียมการโอน และการจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ เพราะอาจเกิดความต้องการเทียมขึ้นในตลาด และส่งผลกระทบให้เกิดเอ็นพีแอลในอนาคตได้
ดังนั้นรัฐบาลควรออกมาตรการแบบบูรณาการโดยเชื่อมกัน ทั้งกระตุ้นการบริโภคของประชาชน การลงทุนภาคเอกชน เน้นรายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยว แต่หากรัฐบาลต้องการเห็นผลเร่งด่วนก็ต้องออกมาตรการที่แรง และมีระยะดำเนินการที่เร็ว
ขณะที่มาตรการให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลดหย่อนภาษีจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25 ก็เชื่อว่าไม่เป็นผล เพราะบริษัทที่จะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ก็มีแผนอยู่แล้ว ส่วนการตรึงภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 ปัจจุบันผู้บริโภคก็ไม่ได้จ่ายเงินเพิ่มอยู่แล้ว และสิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับมาตรการนี้ คือ การลดค่าธรรมเนียมการโอน และการจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ เพราะอาจเกิดความต้องการเทียมขึ้นในตลาด และส่งผลกระทบให้เกิดเอ็นพีแอลในอนาคตได้
ดังนั้นรัฐบาลควรออกมาตรการแบบบูรณาการโดยเชื่อมกัน ทั้งกระตุ้นการบริโภคของประชาชน การลงทุนภาคเอกชน เน้นรายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยว แต่หากรัฐบาลต้องการเห็นผลเร่งด่วนก็ต้องออกมาตรการที่แรง และมีระยะดำเนินการที่เร็ว