นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร.ประจำเดือนมีนาคม ได้มีการหารือถึงการยกเลิกมาตรการการสำรองร้อยละ 30 ที่มีผลตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ในส่วนของผู้ประกอบการส่งออกยังมีความเป็นห่วงต่อค่าเงินบาทที่อาจแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากมีการยกเลิกมาตรการ โดยมีช่วง 1 สัปดาห์ก่อนที่จะมีการยกเลิกมาตรการค่าเงินบาทได้แข็งค่าขึ้นกว่าร้อยละ 4-5 โดยเห็นว่าภาครัฐจะต้องหามาตราการเสริมที่ชัดเจนออกมาดูแลค่าเงินบาทไม่ให้เกิดความผันผวน แต่ทั้งนี้ กกร.จะติดตามและประเมินผลต่อค่าเงินบาทหลังจากมีการยกเลิกมาตรการอย่างใกล้ชิด เพื่อหาแนวทางลดผลกระทบต่อผู้ส่งออก
ด้านนายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า หากภาครัฐมีการประเมินผลหลังยกเลิกมาตรการการสำรองร้อยละ 30 แล้วไม่เป็นผลดีต่อค่าเงินบาท ภาครัฐควรรีบทบทวนมาตรการดังกล่าวก่อนที่ภาคการส่งออกจะประสบวิกฤตอย่างหนัก
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจากระดับ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ มาอยู่ที่ระดับ 31.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ผู้ส่งออต้องสูญเสียรายได้ประมาณร้อยละ 5 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
ด้านนายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า หากภาครัฐมีการประเมินผลหลังยกเลิกมาตรการการสำรองร้อยละ 30 แล้วไม่เป็นผลดีต่อค่าเงินบาท ภาครัฐควรรีบทบทวนมาตรการดังกล่าวก่อนที่ภาคการส่งออกจะประสบวิกฤตอย่างหนัก
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจากระดับ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ มาอยู่ที่ระดับ 31.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ผู้ส่งออต้องสูญเสียรายได้ประมาณร้อยละ 5 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด