นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในขณะนี้ปัญหาจากอุบัติเหตุบนท้องถนนนับวันจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น ส่วนใหญ่มาจากรถจักรยานยนต์ โดยกลุ่มวัยรุ่นเป็นกลุ่มที่น่าห่วงที่สุด เพราะอยู่ในวัยคึกคะนอง ประมาท และมักขับขี่โดยไม่สวมหมวกนิรภัย
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้รับรายงานการบาดเจ็บและเสียชีวิตของวัยรุ่น อายุต่ำกว่า 15 ปี ที่เสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาลและเข้ารับการรักษาทั่วประเทศ ซึ่งสำนักระบาดวิทยาได้ทำการเฝ้าระวังในโรงพยาบาลประจำจังหวัดขนาดใหญ่ 29 แห่ง กระจายทั่วภูมิภาคของประเทศ ในปี 2549 พบวัยรุ่นบาดเจ็บรุนแรงจากทุกสาเหตุ เช่น อุบัติเหตุการขนส่ง การพลัดตกหกล้ม จมน้ำ ถูกพิษจากสัตว์หรือพืช รวมทั้งหมด 26,448 ราย เสียชีวิต 575 ราย
เมื่อแยกตามสาเหตุพบว่า เกิดจากอุบัติเหตุการขนส่งสูงอันดับ 1 ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้บาดเจ็บ และเป็นเหตุให้เสียชีวิตเกือบร้อยละ 60 มีรายงานบาดเจ็บทั้งหมด 9,840 ราย เสียชีวิต 334 ราย โดยพาหนะที่เป็นต้นเหตุ อันดับ 1 ได้แก่ รถจักรยานยนต์ พบร้อยละ 70 รองลงมาคือรถจักรยานและสามล้อ ร้อยละ 19 และรถกระบะหรือรถตู้ ร้อยละ 6 ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในกลุ่มวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 15 ปี คือการดื่มแล้วขับ โดยมีผู้บาดเจ็บถึงร้อยละ 97 ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนขับ
ด้านนายแพทย์ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ประเด็นที่น่าสนใจที่จะต้องอาศัยความร่วมมือแก้ไขมากขึ้นคือ การดื่มสุราของวัยรุ่น เนื่องจากสถิติครั้งนี้ระบุชัดเจนว่า สุราเป็นตัวการเกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บและเสียชีวิต รวมทั้งมีการควบคุมพฤติกรรมการไม่สวมหมวกนิรภัย และควรมีการเผยแพร่ข้อมูลอุบัติเหตุการขนส่งให้ประชาชนทราบตามสถานีตำรวจ จะทำให้ประชาชนตระหนักในการขับขี่มากขึ้น
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้รับรายงานการบาดเจ็บและเสียชีวิตของวัยรุ่น อายุต่ำกว่า 15 ปี ที่เสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาลและเข้ารับการรักษาทั่วประเทศ ซึ่งสำนักระบาดวิทยาได้ทำการเฝ้าระวังในโรงพยาบาลประจำจังหวัดขนาดใหญ่ 29 แห่ง กระจายทั่วภูมิภาคของประเทศ ในปี 2549 พบวัยรุ่นบาดเจ็บรุนแรงจากทุกสาเหตุ เช่น อุบัติเหตุการขนส่ง การพลัดตกหกล้ม จมน้ำ ถูกพิษจากสัตว์หรือพืช รวมทั้งหมด 26,448 ราย เสียชีวิต 575 ราย
เมื่อแยกตามสาเหตุพบว่า เกิดจากอุบัติเหตุการขนส่งสูงอันดับ 1 ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้บาดเจ็บ และเป็นเหตุให้เสียชีวิตเกือบร้อยละ 60 มีรายงานบาดเจ็บทั้งหมด 9,840 ราย เสียชีวิต 334 ราย โดยพาหนะที่เป็นต้นเหตุ อันดับ 1 ได้แก่ รถจักรยานยนต์ พบร้อยละ 70 รองลงมาคือรถจักรยานและสามล้อ ร้อยละ 19 และรถกระบะหรือรถตู้ ร้อยละ 6 ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในกลุ่มวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 15 ปี คือการดื่มแล้วขับ โดยมีผู้บาดเจ็บถึงร้อยละ 97 ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนขับ
ด้านนายแพทย์ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ประเด็นที่น่าสนใจที่จะต้องอาศัยความร่วมมือแก้ไขมากขึ้นคือ การดื่มสุราของวัยรุ่น เนื่องจากสถิติครั้งนี้ระบุชัดเจนว่า สุราเป็นตัวการเกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บและเสียชีวิต รวมทั้งมีการควบคุมพฤติกรรมการไม่สวมหมวกนิรภัย และควรมีการเผยแพร่ข้อมูลอุบัติเหตุการขนส่งให้ประชาชนทราบตามสถานีตำรวจ จะทำให้ประชาชนตระหนักในการขับขี่มากขึ้น