นายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานเปิดประชุมแสดงความคิดเห็นเพื่อจัดทำแผนบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2552-2555 โดยได้ให้นโยบายในการจัดทำแผนให้นำไปสู่มิติ 6 ประการ เพื่อสะท้อนความจำเป็นเร่งด่วนให้ กทม.เร่งดำเนินการ ได้แก่ 1. กทม.เมืองแห่งความสะดวกและปลอดภัย 2. ให้ กทม.เป็นมหานครแห่งสิ่งแวดล้อม 3.มหานครแห่งการเรียนรู้ 4. มหานครของผู้คนมีความสุข 5.เมืองแห่งเสน่ห์ทางวัฒนธรรมและการผสมผสานทางเศรษฐกิจ และ 6.เมืองเศรษฐกิจภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
นายวัลลภ กล่าวว่า ปัญหาการบริหารจัดการกรุงเทพฯ คือ พื้นที่จำกัดไม่สามารถขยายได้ จึงต้องแก้ปัญหาความแออัด และขยายเมืองอย่างมีทิศทาง ดังนั้น จึงต้องอาศัยการวางแผนที่ดี เพื่อให้ กทม.เป็นเมืองแห่งการปกครองในรูปแบบพิเศษ การประชุมแสดงความคิดเห็นร่วมกันครั้งนี้ จะได้ความเห็นจากชาว กทม.เพื่อพัฒนา กทม. โดยจะมีการจัดทำตัวชี้วัดเพื่อประเมินเป้าหมายการบริหารงานด้วย
สำหรับการประชุมแสดงความคิดเห็นจัดทำแผนบริหารราชการ กทม. ครั้งนี้ จะมีการประชุมระดมความเห็นในกลุ่มย่อย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านกายภาพ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านระบบบริหารและไอซีที โดย กทม.มอบให้ศูนย์บริการวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวบรวมข้อมูลสถานการณ์ด้านต่างๆ ของ กทม.ในปัจจุบันและจัดทำแผน ซึ่งมีการเสนอว่า ภาพรวมของการบริหารราชการเชิงยุทธศาสตร์ใน กทม. ควรต้องจัดทำแผนจากความต้องการของประชาชน จากปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อม และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
นายวัลลภ กล่าวว่า ปัญหาการบริหารจัดการกรุงเทพฯ คือ พื้นที่จำกัดไม่สามารถขยายได้ จึงต้องแก้ปัญหาความแออัด และขยายเมืองอย่างมีทิศทาง ดังนั้น จึงต้องอาศัยการวางแผนที่ดี เพื่อให้ กทม.เป็นเมืองแห่งการปกครองในรูปแบบพิเศษ การประชุมแสดงความคิดเห็นร่วมกันครั้งนี้ จะได้ความเห็นจากชาว กทม.เพื่อพัฒนา กทม. โดยจะมีการจัดทำตัวชี้วัดเพื่อประเมินเป้าหมายการบริหารงานด้วย
สำหรับการประชุมแสดงความคิดเห็นจัดทำแผนบริหารราชการ กทม. ครั้งนี้ จะมีการประชุมระดมความเห็นในกลุ่มย่อย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านกายภาพ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านระบบบริหารและไอซีที โดย กทม.มอบให้ศูนย์บริการวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวบรวมข้อมูลสถานการณ์ด้านต่างๆ ของ กทม.ในปัจจุบันและจัดทำแผน ซึ่งมีการเสนอว่า ภาพรวมของการบริหารราชการเชิงยุทธศาสตร์ใน กทม. ควรต้องจัดทำแผนจากความต้องการของประชาชน จากปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อม และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ