พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิต เขต 13 กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า วันวาเลนไทน์หรือวันแห่งความรัก ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ กลายเป็นสัญลักษณ์ของวัยรุ่นที่จะบอกรักกันในเชิงหนุ่มสาว ถือเป็นการติดธงเสี่ยง เนื่องจากวัยรุ่นนึกถึงแฟนและคู่รัก จนผู้ปกครองกลัวกิจกรรมทางเพศในเชิงเพศสัมพันธ์ แต่การที่พ่อแม่ใส่ใจต่อลูกวัยรุ่นถือเป็นเรื่องที่มีความหมาย ไม่ควรพูดถากถางเชิงดุด่า ประชดประชัน การแสดงออกในวันแห่งความรักแนะให้ทำช่วงเวลานี้ สร้างความตระหนัก พัฒนาความเข้าใจกันระลึกถึงความรักความผูกพันในครอบครัว นำไปสู่การวางแผนชีวิต ให้ลูกรู้จักว่า เขามีคุณค่า รู้จักควบคุมอารมณ์ ยับยั้งชั่งใจ แก้ปัญหาที่เผชิญอย่างเหมาะสม มีเหตุผล รับผิดชอบต่อพฤติกรรมตัวเอง ถือเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีมีความอบอุ่นผูกพันกับพ่อแม่
พญ.อัมพร กล่าวว่า การที่วัยรุ่นเล่นอินเตอร์เน็ตดึก ๆ ขอให้ใช้สัมพันธภาพที่ดีซักถามลูกด้วยท่าทีอบอุ่น เด็กที่คลุกคลีกับสื่ออินเตอร์เน็ต มีความเสี่ยงทางเพศ ผู้ใหญ่ไม่ควรปล่อยปละละเลย เพราะมีโอกาสในการถูกล่อลวงหรือคล้อยตามบรรยากาศรอบ ๆ ตัวได้สูง ซึ่งเด็กหญิงมักมองความรัก คือ การเอาอกเอาใจ ยอมทำตามสิ่งที่แฟนเรียกร้อง ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ในขณะที่ยังไม่มีความพร้อมจึงเป็นไปได้สูง นอกจากนี้ พ่อแม่ไม่ควรมองข้ามปัญหาอกหักหรือ ป๊อบปี้ เลิฟของลูกวัยรุ่น
พญ.อัมพร กล่าวเพิ่มเติมว่า เทศกาลแห่งความรักยิ่งตอกย้ำความทุกข์ให้คนที่อกหัก หมอลงพื้นที่ใน 5-6 โรงเรียนใน กทม.พบว่า ปัญหาอกหักทวีความรุนแรงขึ้น เด็กมีอาการใกล้ซึมเศร้า หากพบลูกวัยรุ่นอกหัก มีอาการซึม หมดอาลัยตายอยากในชีวิต เหมือนคนขี้เกียจ ทำตัวน่าเบื่อ ทำตัวมีปัญหา บอกให้รับผิดชอบงานบ้านก็เพิกเฉย ความรู้สึกในใจเด็กคือ ความเจ็บปวด นั่นคือ ลูกกำลังแย่ การพูดคุยในสถานการณ์แบบนี้จะช่วยถักทอความรักให้เกิดขึ้น สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างพ่อแม่ลูก เด็กขอบคุณพ่อแม่ที่เข้ามารับรู้ เข้าใจเขา พ่อแม่ได้ใกล้ชิดกับลูก
พญ.อัมพร กล่าวว่า การที่วัยรุ่นเล่นอินเตอร์เน็ตดึก ๆ ขอให้ใช้สัมพันธภาพที่ดีซักถามลูกด้วยท่าทีอบอุ่น เด็กที่คลุกคลีกับสื่ออินเตอร์เน็ต มีความเสี่ยงทางเพศ ผู้ใหญ่ไม่ควรปล่อยปละละเลย เพราะมีโอกาสในการถูกล่อลวงหรือคล้อยตามบรรยากาศรอบ ๆ ตัวได้สูง ซึ่งเด็กหญิงมักมองความรัก คือ การเอาอกเอาใจ ยอมทำตามสิ่งที่แฟนเรียกร้อง ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ในขณะที่ยังไม่มีความพร้อมจึงเป็นไปได้สูง นอกจากนี้ พ่อแม่ไม่ควรมองข้ามปัญหาอกหักหรือ ป๊อบปี้ เลิฟของลูกวัยรุ่น
พญ.อัมพร กล่าวเพิ่มเติมว่า เทศกาลแห่งความรักยิ่งตอกย้ำความทุกข์ให้คนที่อกหัก หมอลงพื้นที่ใน 5-6 โรงเรียนใน กทม.พบว่า ปัญหาอกหักทวีความรุนแรงขึ้น เด็กมีอาการใกล้ซึมเศร้า หากพบลูกวัยรุ่นอกหัก มีอาการซึม หมดอาลัยตายอยากในชีวิต เหมือนคนขี้เกียจ ทำตัวน่าเบื่อ ทำตัวมีปัญหา บอกให้รับผิดชอบงานบ้านก็เพิกเฉย ความรู้สึกในใจเด็กคือ ความเจ็บปวด นั่นคือ ลูกกำลังแย่ การพูดคุยในสถานการณ์แบบนี้จะช่วยถักทอความรักให้เกิดขึ้น สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างพ่อแม่ลูก เด็กขอบคุณพ่อแม่ที่เข้ามารับรู้ เข้าใจเขา พ่อแม่ได้ใกล้ชิดกับลูก