นายนพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง "สภาพแวดล้อมชุมชนและพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้ยาเสพติดในกลุ่มเด็กวัยทีน" ศึกษาจากเด็กและเยาวชนอายุ 12-19 ปี ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 2,384 ตัวอย่าง ระหว่าง 1-8 กุมภาพันธ์ 2551 พบว่า เด็กและเยาวชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ระบุว่า สามารถเดินทางไปยังแหล่งซื้อขายเหล้าบุหรี่ได้ภายในเวลาประมาณ 7 นาที ร้านเกม ร้านอินเตอร์เน็ต แหล่งการเล่นพนัน แหล่งมั่วสุมนั้น เดินทางไปถึงได้ภายในเวลาประมาณ 15 นาที แหล่งซื้อขายซีดี ดีวีดีลามก สถานบันเทิงและสถานบริการทางเพศได้ไม่เกิน 30 นาที ในขณะที่เด็กและเยาวชน ก็สามารถเดินทางไปยังวัด แหล่งทำบุญทำทานบริจาค ห้องสมุดและสวนสาธารณะได้ภายใน 15-30 นาที
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ เด็กและเยาวชนจำนวนมากอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีทั้งที่บ้านพักอาศัยและที่สถานศึกษา โดยสำรวจบริเวณที่พักอาศัยในรัศมี 300 เมตร พบว่า ร้อยละ 73.7 ระบุมีคนดื่มเหล้าเมาเป็นประจำร้อยละ 56.6 ระบุมีการทำลายทรัพย์สินสาธารณะ เช่น ตู้โทรศัพท์ ไฟฟ้า ร้อยละ 55.5 มีการพ่นสีสเปรย์ตามที่ต่างๆ ร้อยละ 53.0 มีกลุ่มมั่วสุมของวัยรุ่น ร้อยละ 47.2 มีบ้านพักถูกทิ้งให้ร้างว่างเปล่า ร้อยละ 45.3 มีกลุ่มแก๊งก่อความเดือดร้อนรำคาญ ร้อยละ 42.1 มีคนใช้ยาเสพติด ร้อยละ 41.3 มีขยะปล่อยทิ้งไว้ ร้อยละ38.6 ระบุมีสถานบันเทิง ร้อยละ37.7 มีที่รกร้างว่างเปล่า ร้อยละ 31.7 มีร่องรอยงัดแงะที่พักอาศัย และร้อยละ 17.5 ระบุมีสถานบริการทางเพศ
เมื่อประมาณการจำนวนเด็กและเยาวชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษาจากจำนวนทั้งสิ้น 1,327,055 คน พบว่า ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีเด็กและเยาวชนที่เคยหนีเรียนจำนวน 615,754 หรือร้อยละ 46.4 ของทั้งหมด รองลงมาคือ เด็กที่ชอบดูแข่งรถซิ่งมีจำนวน 484,375 คน หรือร้อยละ 36.5 เด็กเยาวชนที่เคยดื่มเหล้ามีจำนวน 480,394 คน หรือร้อยละ 36.2 เด็กเยาวชนที่เคยสูบบุหรี่มีจำนวน 230,908 คน หรือร้อยละ 17.4 และเด็กเยาวชนที่เคยใช้ยาเสพติดมีจำนวน 160,574 คน หรือร้อยละ 12.1
อย่างไรก็ตาม เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่เกินกว่าล้านคนขึ้นไป เข้าวัดฟังเทศน์ ทำบุญ เข้าห้องสมุด อาสาทำงานเพื่อสังคม เล่นกีฬา และเห็นแบบอย่างที่ดีมีคุณธรรมของพ่อและแม่ทั้งในเรื่องการช่วยเหลือมีน้ำใจให้ผู้อื่นและพ่อแม่พากันเข้าวัดทำบุญทำทานในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
นายนพดล ได้วิเคราะห์อิทธิพลของสภาพแวดล้อมชุมชนต่อเด็กและเยาวชนที่ถูกศึกษาในการใช้ยาเสพติดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า เด็กและเยาวชนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีบริเวณที่พักอาศัยมีโอกาสสูงสุดในการใช้ยาเสพติดประมาณ 3 เท่ามากกว่าเด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ เด็กและเยาวชนจำนวนมากอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีทั้งที่บ้านพักอาศัยและที่สถานศึกษา โดยสำรวจบริเวณที่พักอาศัยในรัศมี 300 เมตร พบว่า ร้อยละ 73.7 ระบุมีคนดื่มเหล้าเมาเป็นประจำร้อยละ 56.6 ระบุมีการทำลายทรัพย์สินสาธารณะ เช่น ตู้โทรศัพท์ ไฟฟ้า ร้อยละ 55.5 มีการพ่นสีสเปรย์ตามที่ต่างๆ ร้อยละ 53.0 มีกลุ่มมั่วสุมของวัยรุ่น ร้อยละ 47.2 มีบ้านพักถูกทิ้งให้ร้างว่างเปล่า ร้อยละ 45.3 มีกลุ่มแก๊งก่อความเดือดร้อนรำคาญ ร้อยละ 42.1 มีคนใช้ยาเสพติด ร้อยละ 41.3 มีขยะปล่อยทิ้งไว้ ร้อยละ38.6 ระบุมีสถานบันเทิง ร้อยละ37.7 มีที่รกร้างว่างเปล่า ร้อยละ 31.7 มีร่องรอยงัดแงะที่พักอาศัย และร้อยละ 17.5 ระบุมีสถานบริการทางเพศ
เมื่อประมาณการจำนวนเด็กและเยาวชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษาจากจำนวนทั้งสิ้น 1,327,055 คน พบว่า ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีเด็กและเยาวชนที่เคยหนีเรียนจำนวน 615,754 หรือร้อยละ 46.4 ของทั้งหมด รองลงมาคือ เด็กที่ชอบดูแข่งรถซิ่งมีจำนวน 484,375 คน หรือร้อยละ 36.5 เด็กเยาวชนที่เคยดื่มเหล้ามีจำนวน 480,394 คน หรือร้อยละ 36.2 เด็กเยาวชนที่เคยสูบบุหรี่มีจำนวน 230,908 คน หรือร้อยละ 17.4 และเด็กเยาวชนที่เคยใช้ยาเสพติดมีจำนวน 160,574 คน หรือร้อยละ 12.1
อย่างไรก็ตาม เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่เกินกว่าล้านคนขึ้นไป เข้าวัดฟังเทศน์ ทำบุญ เข้าห้องสมุด อาสาทำงานเพื่อสังคม เล่นกีฬา และเห็นแบบอย่างที่ดีมีคุณธรรมของพ่อและแม่ทั้งในเรื่องการช่วยเหลือมีน้ำใจให้ผู้อื่นและพ่อแม่พากันเข้าวัดทำบุญทำทานในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
นายนพดล ได้วิเคราะห์อิทธิพลของสภาพแวดล้อมชุมชนต่อเด็กและเยาวชนที่ถูกศึกษาในการใช้ยาเสพติดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า เด็กและเยาวชนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีบริเวณที่พักอาศัยมีโอกาสสูงสุดในการใช้ยาเสพติดประมาณ 3 เท่ามากกว่าเด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี