นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร แถลงพร้อมรองประธานสภาฯ ทั้ง 2 คน ภายหลังรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร เย็นวันนี้ (24 ม.ค.) ว่า ตนและรองประธานสภาฯ ทั้ง 2 คน ยืนยันว่า จะไม่ทรยศหักหลังประเทศชาติและราชบัลลังก์ จะขอเอาชีวิตเป็นเดิมพัน การทำงานต่อไปจะเห็นแก่ความสามัคคีของคนในชาติ โดยไม่เลือกฝักเลือกฝ่าย และมุ่งเน้นผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ดังนั้น เสียงข้างมากหรือเสียงข้างน้อย จะไม่สำคัญไปกว่าความจริงใจ สิ่งสำคัญคือการเมืองภาคประชาชน ซึ่งถูกละทิ้งมายาวนาน จะได้รับความสำคัญมากขึ้น โดยจากนี้ไปกระบวนการในรัฐสภาจะสนับสนุนการเมืองภาคประชาชน เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและตรวจสอบเป็นระยะ พวกผมทั้งสามจะมีเวลาให้การเมืองภาคประชาชนให้มากขึ้น เพื่อให้บรรลุเจตนารมณ์การมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้น สิ่งใดที่เคยมีความบาดหมางใจ ในฐานะที่เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของการเมือง จะขอเป็นกลไกสร้างความปรองดองในชาติ
ส่วนการนัดประชุมสภาฯ เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี นายยงยุทธ กล่าวว่า ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 กำหนดให้เรียกประชุมเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี ภายใน 3 วัน หลังจากได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานสภาฯ หรือให้เป็นอำนาจของประธานสภาฯ เรียกประชุม เมื่อพิจารณาความเหมาะสม และเพื่อไม่ให้เกิดความบาดหมางใจ จึงสั่งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ประสานไปยัง ส.ส.เสียงข้างน้อย และพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อนัดประชุมสภาฯ ในวันจันทร์ที่ 28 มกราคม นี้ เวลา 09.30 น.
ทั้งนี้ นายยงยุทธ ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นกรณีการตรวจสอบเรื่องทุจริตเลือกตั้งที่ จ.เชียงราย ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ยังไม่เสร็จ โดยระบุว่า ให้ กกต.ตรวจสอบโดยอิสระ และยินดีให้ความร่วมมือกับ กกต.อย่างเต็มที่
ส่วนการนัดประชุมสภาฯ เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี นายยงยุทธ กล่าวว่า ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 กำหนดให้เรียกประชุมเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี ภายใน 3 วัน หลังจากได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานสภาฯ หรือให้เป็นอำนาจของประธานสภาฯ เรียกประชุม เมื่อพิจารณาความเหมาะสม และเพื่อไม่ให้เกิดความบาดหมางใจ จึงสั่งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ประสานไปยัง ส.ส.เสียงข้างน้อย และพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อนัดประชุมสภาฯ ในวันจันทร์ที่ 28 มกราคม นี้ เวลา 09.30 น.
ทั้งนี้ นายยงยุทธ ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นกรณีการตรวจสอบเรื่องทุจริตเลือกตั้งที่ จ.เชียงราย ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ยังไม่เสร็จ โดยระบุว่า ให้ กกต.ตรวจสอบโดยอิสระ และยินดีให้ความร่วมมือกับ กกต.อย่างเต็มที่