คณะกรรมการการสรรหา ส.ว.ประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน และผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้นัดประชุมกัน เพื่อหาความชัดเจนในเรื่องข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับทั้งการสรรหา และการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า สมาชิก สนช.มีสิทธิที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว.หรือไม่ เนื่องจากในรัฐธรรมนูญกำหนดห้ามแค่เพียง ส.ว.ชุดเดิมลงสมัคร แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2549 และบางมาตราในฉบับปัจจุบันปี 2550 ได้กำหนดให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นทั้งสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา จนกว่าจะมี ส.ส.และ ส.ว.ตัวจริงเข้ามาทำหน้าที่
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการสรรหา ส.ว.ว่าบางองค์กรเสนอชื่อบุคคลเข้ามามากกว่า 1 คน แต่บางองค์กรเสนอชื่อซ้ำกับองค์กรอื่น ซึ่งต้องดูว่าสามารถทำได้มากน้อยแค่ไหน
สำหรับการเสนอชื่อ ส.ว.สรรหา ล่าสุด มีผู้ถูกเสนอชื่อแล้วทั้งหมด 352 คน จาก 406 องค์กร โดยในวันพรุ่งนี้ (17 ม.ค.) เป็นวันสุดท้ายที่คณะกรรมการสรรหาเปิดให้องค์กรต่างๆ ได้เสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมเข้ามา
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการสรรหา ส.ว.ว่าบางองค์กรเสนอชื่อบุคคลเข้ามามากกว่า 1 คน แต่บางองค์กรเสนอชื่อซ้ำกับองค์กรอื่น ซึ่งต้องดูว่าสามารถทำได้มากน้อยแค่ไหน
สำหรับการเสนอชื่อ ส.ว.สรรหา ล่าสุด มีผู้ถูกเสนอชื่อแล้วทั้งหมด 352 คน จาก 406 องค์กร โดยในวันพรุ่งนี้ (17 ม.ค.) เป็นวันสุดท้ายที่คณะกรรมการสรรหาเปิดให้องค์กรต่างๆ ได้เสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมเข้ามา