นักวิเคราะห์มองราคาน้ำมันโลกพุ่งทำสถิติแตะระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ยิ่งเพิ่มแรงบีบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯซึ่งอ่อนแออยู่แล้วสืบเนื่องจากวิกฤติในภาคอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ปี2006 และเพิ่มสัญญาณชี้ให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย ที่ปรากฏขึ้นรางๆในระบบเศรษฐกิจใหญ่อันดับหนึ่งของโลกแห่งนี้
ราคาน้ำมันดิบไลท์สวีตครูต ในตลาดไนเม็กซ์ที่นครนิวยอร์ก เมื่อวันพุธ(2) พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดระหว่างวันที่ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในวันเดียวกันนั้น ก็มีการแถลงตัวเลขดัชนีกิจกรรมในโรงงานทั่วประเทศลดฮวบในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา หลังจากที่เพิ่มขึ้นในช่วง 10 เดือน ก่อนหน้านี้
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบได้พุ่งทุบสถิติมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ 50 ดอลลาร์ 60 ดอลลาร์ มาจนถึง 80 ดอลลาร์ แต่ก็ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ทรุดหนักแต่อย่างใด
ปีเตอร์ โมรีซี นักเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งแมริแลนด์ กล่าวว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา มีแรงต้านทานต่อแรงบีบจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากน้ำมันคิดเป็นสัดส่วนในค่าใช้จ่ายโดยรวม น้อยกว่าในอดีต
แต่หลายคนสงสัยว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะรับมือกับราคาน้ำมันโลกที่พุ่งสูงถึง 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลได้อย่างง่ายดายเหมือนเคยหรือไม่
ราคาน้ำมันดิบไลท์สวีตครูต ในตลาดไนเม็กซ์ที่นครนิวยอร์ก เมื่อวันพุธ(2) พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดระหว่างวันที่ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในวันเดียวกันนั้น ก็มีการแถลงตัวเลขดัชนีกิจกรรมในโรงงานทั่วประเทศลดฮวบในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา หลังจากที่เพิ่มขึ้นในช่วง 10 เดือน ก่อนหน้านี้
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบได้พุ่งทุบสถิติมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ 50 ดอลลาร์ 60 ดอลลาร์ มาจนถึง 80 ดอลลาร์ แต่ก็ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ทรุดหนักแต่อย่างใด
ปีเตอร์ โมรีซี นักเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งแมริแลนด์ กล่าวว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา มีแรงต้านทานต่อแรงบีบจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากน้ำมันคิดเป็นสัดส่วนในค่าใช้จ่ายโดยรวม น้อยกว่าในอดีต
แต่หลายคนสงสัยว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะรับมือกับราคาน้ำมันโลกที่พุ่งสูงถึง 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลได้อย่างง่ายดายเหมือนเคยหรือไม่