นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการประเมินผลการโทรศัพท์แจ้งเหตุ ที่ศูนย์รับแจ้ง
เหตุนเรนทร 1669 ะหว่างวันที่ 28-31 ธันวาคม มีผู้แจ้งแบบไร้สาระ และใช้คำพูดลวนลามเจ้าหน้าที่ๆ เป็นสุภาพสตรี และรวมทั้งแจ้งเหตุลวงจำนวน 7,312 สาย โดยโทรจากตู้โทรศัพท์สาธารณะมากที่สุด ขณะที่บางรายใช้มือถือโทรก่อกวนคนเดียวถึง 50 ครั้ง ทั้งนี้ การโทรก่อกวนดังกล่าวทำให้สายไม่ว่าง หากมีผู้ป่วยหนักขอความช่วยเหลือ เมื่อโทรเข้าไม่ได้จะขาดโอกาสได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์ และทำให้เสียชีวิต
ด้าน นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ผู้อำนวยการศูนย์นเรนทร กล่าวว่า ขณะนี้พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน ได้ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติฯ แล้ว และเป็นกฎหมายฉบับแรกของไทย ที่ประกันความปลอดภัยในชีวิตของประชาชน หลังการบาดเจ็บหรือป่วยฉุกเฉิน คาดจะมีผลบังคับใช้ในเดือนมีนาคมนี้ กฎหมายดังกล่าวกำหนดโทษผู้ใช้ระบบการสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศที่จัดไว้ เพื่อปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อการปฏิบัติการฉุกเฉินของเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
เหตุนเรนทร 1669 ะหว่างวันที่ 28-31 ธันวาคม มีผู้แจ้งแบบไร้สาระ และใช้คำพูดลวนลามเจ้าหน้าที่ๆ เป็นสุภาพสตรี และรวมทั้งแจ้งเหตุลวงจำนวน 7,312 สาย โดยโทรจากตู้โทรศัพท์สาธารณะมากที่สุด ขณะที่บางรายใช้มือถือโทรก่อกวนคนเดียวถึง 50 ครั้ง ทั้งนี้ การโทรก่อกวนดังกล่าวทำให้สายไม่ว่าง หากมีผู้ป่วยหนักขอความช่วยเหลือ เมื่อโทรเข้าไม่ได้จะขาดโอกาสได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์ และทำให้เสียชีวิต
ด้าน นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ผู้อำนวยการศูนย์นเรนทร กล่าวว่า ขณะนี้พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน ได้ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติฯ แล้ว และเป็นกฎหมายฉบับแรกของไทย ที่ประกันความปลอดภัยในชีวิตของประชาชน หลังการบาดเจ็บหรือป่วยฉุกเฉิน คาดจะมีผลบังคับใช้ในเดือนมีนาคมนี้ กฎหมายดังกล่าวกำหนดโทษผู้ใช้ระบบการสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศที่จัดไว้ เพื่อปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อการปฏิบัติการฉุกเฉินของเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท