กลุ่มตัวแทนลูกจ้างบริษัทผลิตกระดาษดับเบิ้ลเอ ย่านจังหวัดปราจีนบุรี กว่า 40 คน ยื่นหนังสือร้องเรียนที่สำนักแรงงานสัมพันธ์ กระทรวงแรงงาน เพื่อขอความช่วยเหลือกรณีคนงาน 216 คน ถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม โดยบริษัทอ้างว่าขาดสภาพคล่องทางการเงินและต้องการลดพนักงาน
นายทองสา สาตร์นอก หนึ่งในพนักงานบริษัทดับเบิ้ลเอที่ถูกเลิกจ้าง กล่าวว่า พนักงานทั้งหมด 216 คน ถูกบอกเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน โดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า แต่นายจ้างได้นัดพนักงานส่วนหนึ่งจำนวน 138 คน จ่ายเงินครึ่งเดือนสุดท้ายของเดือนมิถุนายนแล้ว พร้อมจ่ายค่าชดเชยอีกร้อยละ 40 ในวันที่ 27 กรกฎาคมนี้ โดยแบ่งจ่ายเป็น 4 งวด ซึ่งยังไม่มีความมั่นใจว่าจะได้รับครบหรือไม่ ขณะที่พนักงานอีกจำนวน 63 คน ยังไม่ได้รับการเจรจาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับพนักงานทั้งหมด 216 คนเป็นมูลค่า 20 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน ยังมีตัวแทนลูกจ้างอีก 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท ทีโรลิต ไทยไดมอน มาร้องเรียนกรณีแกนนำสหภาพแรงงานถูกเลิกจ้าง และมีคนงานหญิงแท้งบุตรขณะทำงาน รวมถึงลูกจ้างบริษัท ไทยซัมมิท จำนวน 100 คน ที่ถูกเลิกจ้างและไม่ได้รับค่าแรงได้ยื่นขอเรียกร้องขอกลับเข้าทำงานตามเดิม และบริษัทอีเอฟบี ที่นายจ้างไม่ยอมเจรจา จึงต้องยื่นข้อพิพาทระหว่างคนงาน 50 คนกับนายจ้าง
ด้านสำนักแรงงานสัมพันธ์ จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดต่ออธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ซึ่งต้องดูเป็นรายกรณี โดยเฉพาะลูกจ้างบริษัทดับเบิ้ลเอจำนวน 63 คน จะให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปราจีนบุรี ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน
นายทองสา สาตร์นอก หนึ่งในพนักงานบริษัทดับเบิ้ลเอที่ถูกเลิกจ้าง กล่าวว่า พนักงานทั้งหมด 216 คน ถูกบอกเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน โดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า แต่นายจ้างได้นัดพนักงานส่วนหนึ่งจำนวน 138 คน จ่ายเงินครึ่งเดือนสุดท้ายของเดือนมิถุนายนแล้ว พร้อมจ่ายค่าชดเชยอีกร้อยละ 40 ในวันที่ 27 กรกฎาคมนี้ โดยแบ่งจ่ายเป็น 4 งวด ซึ่งยังไม่มีความมั่นใจว่าจะได้รับครบหรือไม่ ขณะที่พนักงานอีกจำนวน 63 คน ยังไม่ได้รับการเจรจาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับพนักงานทั้งหมด 216 คนเป็นมูลค่า 20 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน ยังมีตัวแทนลูกจ้างอีก 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท ทีโรลิต ไทยไดมอน มาร้องเรียนกรณีแกนนำสหภาพแรงงานถูกเลิกจ้าง และมีคนงานหญิงแท้งบุตรขณะทำงาน รวมถึงลูกจ้างบริษัท ไทยซัมมิท จำนวน 100 คน ที่ถูกเลิกจ้างและไม่ได้รับค่าแรงได้ยื่นขอเรียกร้องขอกลับเข้าทำงานตามเดิม และบริษัทอีเอฟบี ที่นายจ้างไม่ยอมเจรจา จึงต้องยื่นข้อพิพาทระหว่างคนงาน 50 คนกับนายจ้าง
ด้านสำนักแรงงานสัมพันธ์ จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดต่ออธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ซึ่งต้องดูเป็นรายกรณี โดยเฉพาะลูกจ้างบริษัทดับเบิ้ลเอจำนวน 63 คน จะให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปราจีนบุรี ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน