ข่าวดี เมืองไทยพบพืชหายาก หลังสูญหายไปจากโลกนี้ถึง 113 ปี ที่ จ.เชียงราย โดยทาง
เพจ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ชวนตั้งชื่อพืชหายากที่พบเจอใหม่อีกครั้งดังกล่าว
ถือเป็นอีกหนึ่งข่าวดีของเมืองไทย เมื่อเพจ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ได้เผยแพร่ข้อมูลการพบเจอพืชหายากที่เชียงรายที่เคยสูญหายจากโลกนี้ไปถึง 113 ปี ดังต่อไปนี้
🌿พบพืชหายากที่หายเงียบจากบันทึกโลกนานถึง 113 ปี กลับมาปรากฏอีกครั้ง…บนผืนแผ่นดินไทย!
𝙃𝙚𝙩𝙚𝙧𝙤𝙨𝙩𝙚𝙢𝙢𝙖 𝙗𝙧𝙤𝙬𝙣𝙞𝙞 Hayata โผล่กลับมาอย่างสง่างาม ท่ามกลางพรมมอสเขียวขจีกลางผืนป่าดิบใน จ.เชียงราย นี่คือการปรากฏตัวอีกครั้งในรอบกว่าศตวรรษ — เผยแพร่ที่นี่ครั้งแรก! บนโลกโซเชียลของไทย
🔍 พืชชนิดนี้เคยมีรายงานเพียงในไต้หวัน จีน และเวียดนาม เมื่อราว พ.ศ. 2449 (1906) ก่อนจะเงียบหายจากบันทึกของโลกพฤกษศาสตร์ไปนานนับร้อยปี จนกระทั่งใน พ.ศ. 2562 ทีมนักอนุกรมวิธานพืชจากองค์การสวนพฤกษศาสตร์ (BGO) ได้ค้นพบอีกครั้งในพื้นที่ป่าดิบของเชียงราย และมีการตีพิมพ์รายงานอย่างเป็นทางการในปีถัดมา (พ.ศ. 2563)
✨ ลักษณะเด่นที่สะกดสายตา :
• เป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน มีน้ำยางสีขาว
• ใบเรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปรี
• ดอกสีเหลืองสด มีกลีบดอก 5 แฉกคล้ายดาว
• บริเวณกลีบดอกมีจุดประสีแดงทั่วแผ่นกลีบ
• กลางดอกโดดเด่นด้วยกระบังรอบสีแดงเข้ม 5 แฉก รูปทรงคล้ายดาวทะเลที่นิ่งสงบใต้ผืนทะเลลึก
📚 จัดอยู่ในวงศ์ : Apocynaceae (วงศ์ดอกรัก)
📍 สถานภาพการอนุรักษ์ : ยังไม่ถูกจัดอันดับอย่างเป็นทางการ
📍 แหล่งที่พบในธรรมชาติ : เฉพาะป่าดิบของจังหวัดเชียงราย ที่ความสูงประมาณ 500 เมตร จากระดับทะเล
🌧️ ช่วงออกดอก : ฤดูฝน >> เดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม
⚠️ สถานะในธรรมชาติ : พบในไต้หวัน จีน เวียดนาม ไทย และลาว >> มีจำนวนน้อยมาก
🌱 ร่วมตั้งชื่อไทยให้พืชหายากนี้กัน!
ใครเห็นดอกแล้วมีไอเดียชื่อไทยเพราะ ๆ อยากเสนอชื่ออะไร? 💬 คอมเมนต์ไว้ได้เลย!
...............
📉 ข้อมูลโดย : ดร.วรนาถ ธรรมรงค์ [W. Thammarong]
นักอนุกรมวิธานพืช | สำนักวิจัยและอนุรักษ์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์
📷 ภาพถ่ายโดย : Dr. Michele Rodda
...............
📚 อ้างอิง :
Thammarong, W., Rakarcha, S. & Rodda, M. 2020. 𝙃𝙚𝙩𝙚𝙧𝙤𝙨𝙩𝙚𝙢𝙢𝙖 𝙗𝙧𝙤𝙬𝙣𝙞𝙞 (Apocynaceae), a new record for Laos and Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 48(2): 114–117.