xs
xsm
sm
md
lg

“เส้นทางศึกษาธรรมชาติผาหัวนาค” เดินป่าสุดชิล ชมวิวเขาหินทรายอายุกว่า 125 ล้านปี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



หากใครกำลังมองหาที่พักผ่อนหย่อนใจในช่วงวันหยุด ลองมาสัมผัสบรรยากาศดีๆ ท่ามกลางธรรมชาติอันเขียวขจี มีลมหนาวพัดเย็นๆ ให้มาเที่ยวที่ “อุทยานแห่งชาติภูแลนคา” นอกจากมี “ผาหัวนาค” เป็นจุดไฮไลต์แล้ว ที่นี่ยังมี “เส้นทางศึกษาธรรมชาติผาหัวนาค” ระยะทาง 2.66 กิโลเมตร ให้เดินชิลๆ ชมทิวทัศน์พร้อมสูดอากาศให้สดชื่นเต็มปอด 

“เส้นทางศึกษาธรรมชาติผาหัวนาค” ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูแลนคา ตำบลท่าหินโงม อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เป็นเส้นทางเดินป่าระยะสั้น ระยะทาง 2.66 กิโลเมตร พาดผ่านภูเขาหินทรายขนาดใหญ่ เป็นแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศจากหินต้นกำเนิดอายุกว่า 125 ล้านปี สัมผัสคุณค่าของป่าถิ่นอีสานที่งดงามและมีเอกลักษณ์ ทั้งยังมีจุดชมวิวที่สวยงามหลายจุด ระหว่างทางจะได้พบกับป้ายข้อมูล ทำให้การเดินป่าเป็นเรื่องที่ง่ายและสนุกสนานยิ่งขึ้น 

สำหรับเส้นทางเดินนี้ใช้เวลาประมาณ 1.5 - 2 ชั่วโมง นักท่องเที่ยวจะได้เข้าใกล้ธรรมชาติ รับพลังจากผืนป่า และเชื่อมโยงกับนิเวศรอบๆ โดยออกแบบให้มีมาตรฐาน แข็งแรง เดินง่าย และปลอดภัย ด้วยจุดมุ่งหมายให้นักท่องเที่ยวได้เข้าถึง เข้าใจ เรียนรู้ธรรมชาติและสภาพภูมิศาสตร์ที่หลากหลายและมีคุณค่าเฉพาะตัวอย่างใกล้ชิด ผ่านป้ายสื่อความหมายธรรมชาติตลอดแนวเส้นทางฯ ผ่านป้ายสื่อความหมายธรรมชาติ 14 จุด ได้แก่ 

1.จุดเริ่มต้น ... การกลับมาสู่ป่าสมบูรณ์
ในอดีต ทุ่งหญ้าแห่งนี้เคยเป็นป่าสมบูรณ์ แต่เคยถูกบุกรุกแผ้วถาง ระบบนิเวศจึงเสียสมดุล กระทั่งเมื่อพื้นที่ปราศจากการรบกวน ธรรมชาติค่อยๆ ฟื้นตัว จากมีเพียงทุ่งหญ้า เริ่มปรากฏกลุ่มไม้เบิกนำที่เติบโตง่ายและทนต่อสภาพแวดล้อม ปรากฏไม้ล้มลุก เช่น หญ้า คา พง สู่ไม้พุ่มและไม้เถา เช่น เอนอ้า โคลงเคลง ปอเต่าไห้ เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม ไม้ต้น เช่น ประดู่ อะราง ติ้ว เริ่มเจริญเติบโต ในพื้นที่ ดังที่เห็นได้ตลอดสองข้างทาง 
ระบบนิเวศสามารถจัดการตัวเองและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องเป็นพลวัต เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงแทนที่ในระบบนิเวศ (ecological succession) โดยเมื่อเวลาผ่านไป ทุ่งหญ้าจะถูกแทนที่ด้วยไม้ยืนต้นที่ขยายเรือนพุ่มบดบังแสงแดด และไม้ยืนต้นอื่นๆ จะทยอยเติบโตขึ้นตามมา จนกลายเป็นป่าสมบูรณ์อีกครั้ง 


2.นักพรวนดินรรรมชาติ
ทุ่งหญ้าที่กำลังโบกสะบัดไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันการพังทลายของดิน แต่ยังเป็นที่อยู่ อาศัยให้กับสัตว์ป่าท้องถิ่น หากลองสังเกตบริเวณพื้นดิน จะพบร่องรอยตีนสัตว์ปรากฏเป็น กีบคู่ ยิ่งพื้นดินอ่อนนุ่มจะเห็นรอยของ “กิ่งกีบ” ชัดเจน ซึ่งมีข้างละ 2 อัน นับเป็นลักษณะ เฉพาะของ “หมูป่า” ที่มีความเด่นชัด

“หมูป่า” ออกหากินตอนเช้าหรือเย็น และตอนกลางคืน ส่วนกลางวันจะหลบซ่อนอยู่ ตามพุ่มไม้ ปลักตม หรือลำธาร พฤติกรรมของหมูป่ามักจะชอบขุดหารากไม้และพรวนดินจน ร่วนซุย จึงเป็นที่มาของฉายา นักพรวนดินธรรมชาติ และยังเป็นผู้เปิดนำพื้นที่สำหรับต้นไม้ รุ่นใหม่ รวมทั้งเป็นผู้กระจายเมล็ดพันธุ์ให้แก่ผืนป่าอีกด้วย


3.สู่...ป่าดั้งเดิม
เมื่อเราเคลื่อนตัวช้าลงและสังเกตรายละเอียดรอบตัวมากขึ้น จะเห็นป่าในบริเวณนี้แตกต่าง จากป่าช่วงที่ผ่านมา ชนิดของพรรณไม้และโครงสร้างป่าเปลี่ยนไป พบไม้ต้นขนาดใหญ่ และเรือนยอตมีความสูงหลายระดับ บรรยากาศชุ่มชื้นและอุณหภูมิเย็นลง บางครั้ง บนแผ่นหินที่เรายืนอยู่ ปรากฏธารน้ำเล็กๆ ที่ซึมผ่านชั้นดินและหินจากป่าด้านบนไหล เอื้อยสู่เบื้องล่างตามแนวลาดเอียงของพื้นที่

บริเวณนี้ เป็นระบบนิเวศป่าดิบเขาดำ ที่มีพรรณไม้พื้นถิ่นเจริญเติบโตและครองพื้นที่ ส่วนใหญ่ เช่น คายโซ่หรือมังตาน สารภี หว้าขี้แพะ แม้ป่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่ง และฟื้นตัวเองได้ แต่ระบบนิเวศที่สามารถจัดการตัวเองได้ดีที่สุด คือ ป่าดั้งเดิม ซึ่งเป็น เป้าหมายสำคัญของการฟื้นฟูพื้นที่เพื่อรักษาสมดุลของธรรมชาติ


4.ประตูสู่บรรพกาล
แผ่นหินเบื้องหน้า คือหลักฐานบอกบรรพกาลของพื้นที่นี้เมื่อประมาณ 125 ล้านปีก่อน ที่นี่เคยเป็นภูเขาหินทราย ขนาดใหญ่ ที่เกิดจาการซ้อนทับของตะกอนทรายที่ถูกมวลน้ำปริมาณมหาศาลพัดพามาครั้งแล้วครั้งเล่า ความแตกต่าง ของกันในแต่ละชั้นทำให้ความแข็งแรงต่อการกัดเซาะ กัดกร่อน และผุพังแตกต่างกันไป กลายเป็นรูปร่างที่เห็นอยู่ใน ป้อยู่นั้น

เหล่านี้คือ หลักฐานที่นักธรณีวิทยาอธิบายต้นกำเนิดจากธรรมชาติ ธรณีวิทยา จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ เรารู้จักและเข้าใจโลกของเราได้ดีขึ้น เพราะทุกสิ่งล้วนแล้วแต่เชื่อมโยงและสัมพันธ์ซึ่งกันและกันไม่มากก็น้อย


5.โอเอซิส กลางผืนป่า
เส้นทางศึกษาธรรมชาติพาดผ่านภูเขาหินทราย ลัดเลาะไปตามป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังที่มี ลักษณะโปร่ง พรรณไม้เด่น ไม้เด่น เช่น เพียง เพียง ย่างกราด เต็ง พะยอม ขึ้นกระจายในพื้นที่ แม้สภาพป่ามีความ แห้งแล้งสูง แต่ผืนดินสามารถอุ้มน้ำไว้ได้ในช่วงฤดูฝน น้ำจากชิ้นดินจะโหลรวมในร่องน้ำ และจะแห้ง ในฤดูแล้ง ป่าไม้จะช่วยกรองและสกัดกั้น จุลินทรีย์ ตะกอน และสารเคมีต่างๆ ทำให้น้ำที่ไหลออกจาก ที่ต้นน้ำลำธารเป็นน้ำที่ใสสะอาด เปรียบเสมือนโอเอซิสที่อยู่ท่ามกลางสภาพป่าร้อนแล้ง

บริเวณร่องน้ำ หินมีส่วนสำคัญในการช่วยกักเก็บน้ำไว้ หินเหล่านี้เกิดจากการแตกและผุกร่อนของ ภูเขาหินทรายในอดีต หลุดร่วงมาตามไหล่เขาจากแรงโน้มถ่วงและแรงน้ำพัดพา กลิ้งและหยุดรวมตัวกัน บริเวณทางน้ำ ชั้นของหินต่างมีรูพรุนจึงทำให้ต้นไม้สามารถหยั่งรากเติบโตได้ บริเวณนี้ยังมีความชุ่มชื้น และมีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น


6.พลาญหินเลือกไม้
ภูมิประเทศที่โอบล้อมพลาญหินทรายแห่งนี้ ปรากฏภาพรอยต่อของป่าที่แสดงถึงความแตกต่างของสังคมพืช อย่างชัดเจน ป่าเต็งรัง เป็นป่าผลัดใบประเภทหนึ่งที่ต้นไม้ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งได้ดี และสามารถ เติบโตบนดินร่วนปนทรายที่เกิดจากการผุกร่อนของหินทรายผสมกับอินทรีย์วัตถุ มีเพียง ยางกราด และพะยอม เป็นไม้เด่น สำหรับแนวเชื่อมต่อทางนิเวศ ระหว่างป่าผลัดใบกับป่าดิบเขา มีประดู่ ส้านใบเล็ก คิ้วขาว และแสมสาร ขึ้นปะปนกันในพื้นที่

พลาญหิน ยังเป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศลักษณะเด่นเฉพาะตัว ซึ่งพืชพรรณที่อาศัยน้ำน้อยและมีขนาดเล็กเท่านั้น จึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น ต้นตองหมอง หรือ ภาษากลางเรียกว่า ไชหิน บ่งบอกเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้เป็น อย่างดี จึงพบตามร่องและรอยแตกที่เกิดจากหยดน้ำฝนชะลงบนชั้นหิน นานวัน หินที่แตกถูกโม่และขัดเกลาเป็น เม็ดตะกอนทรายเล็กๆ ให้ต้นไม้สามารถหยั่งรากลงไปได้ เพราะระบบนิเวศมีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อนและ สมดุล การรู้จักระบบนิเวศต่างๆ จะช่วยให้เราเข้าใจและเห็นคุณค่าของธรรมชาติอย่างที่เป็น


7.พลาญหินร้อยล้านปี ความสวยงามในสามฤดู
พลาญหินทรายผืนกว้างอายุราว 125 ล้านปี เป็นพื้นที่ที่บ่งบอกถึงระบบนิเวศสุดพิเศษ บนลานหินทรายที่ดูเหมือนไม่มีความอุดมสมบูรณ์ กลับพบพืชพรรณที่สามารถปรับตัวเข้ากับ ธวรมชาติที่เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลได้อย่างน่าทิ้งในหน้าแล้ง พืชพรรณจะยุบตัวลงและรอฤดูฝน เพื่อสร้างโครงสร้างใหม่ เมื่อปลายฝนต้นหนาว พืชเหล่านี้จะออกดอกเพื่อขยายพันธุ์ สร้างความ สวยงามที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลา
ฤดูร้อน (กุมภาพันธ์-พฤษภาคม) ช่วงเวลาที่อุณหภูมิสูงและพื้นที่แห้งแล้ง พืชไม่กี่ชนิด ที่อยู่รอดได้โดยใช้น้ำน้อย แต่กลับเป็นช่วงที่เราจะให้เห็นความอลังการของประติมากรรมบนลานหิน ที่โดดเด่นและแปลกตา

ฤดูฝน (มิถุนายน-กันยายน) ความชื้นสูงทำให้พืชหลายชนิดเจริญงอกงามได้ดี หญ้าหนูต้น และกล้วยไม้ดิน เช่น ม้าวิ่ง เอื้องคำหิน มีมอสส์ และด้างหรือหัวใจทศกัณฐ์กระจายทั่วลานหิน นอกจากนี้ ต้นเสม็ดแดงรูปทรงสวยงามยังสร้างสีสรรให้พื้นที่โดยรอบอีกด้วย ในช่วงปลายฝน ตันหนาว ต้นไม้จะออกดอกแต้มสีสันหลากสีให้ลานหิน ทั้งขาว ม่วง ชมพู และเหลือง
ฤดูหนาว (ธันวาคม-มกราคม) แม้แดดจะแรงแต่อากาศเย็นสบาย การยืนอยู่ท่ามกลางพืชพรรณ นานาชนิดและมีสายลมเย็นพัดผ่านเป็นช่วงเวลาที่น่าประทับใจ บางครั้งเราอาจได้เห็นฝูงนกเงือก กรามช้างบินผ่านเป็นรางวัลพิเศษที่ได้รับจากธรรมชาติ


8.อิงอาศัย ... ตามทางรรรมชาติ
ทางเดินที่เลาะผ่านผนังหินทราย มองดูราวจัดแสดงความสวยงามของ “พืชอิงอาศัย” (epiphytic plant) ทั้งไลเคน มอสส์ เฟิร์น และกล้วยไม้ ต่างใช้ผนังหินเป็นแหล่งพักพิง แบ่งปันร่มเงา และความชื้น เปรียบเสมือนผลงานศิลปะท่ามกลางผืนป่าซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่าไลเคน 
 
ไลเคน สิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาระหว่างราและสาหร่าย ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง อุณหภูมิสูงและแสงแดดจัดได้ดี เส้นใยของราในไลเคนสามารถยึดเกาะกับพื้นผิวหินได้อย่างแน่นหนา รายังช่วยรักษาความชื้นและปกป้องสาหร่ายจากแสงแดดและความร้อน ขณะที่สาหร่ายสร้างอาหารจาก การสังเคราะห์ด้วยแสงให้กับรา นอกจากนี้ ไลเคนยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างดิน โดยชอบชอนไชเข้าไป ในหิน เมื่อไลเคนตาย ซากของมันจะผสมกับเศษหินกลายเป็นดิน เมื่อมีความชื้น จึงเอื้อให้สิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น มอสส์ เฟิร์น และกล้วยไม้เติบโตตามมา


9.จินตนาการ ผ่านหินล้านปี
การเดินทางผ่านกาลเวลาถูกจารึกลงบนพะลานหิน ให้เราได้เข้าใจความเป็นมาในอดีตของพื้นที่แห่งนี้ จากหลักฐาน การค้นพบละอองเรณูบริเวณฐานของหมวดหิน พบว่า หินทรายในบริเวณผาหัวนาคและมอหินขาว เป็นหินทราย ในหมวดหินพระวิหารในกลุ่มหินโคราชที่เกิดการสะสมตัวในที่ลุ่มในช่วงยุคครีเทเชียสตอนต้น (125-145 ล้านปี) มีต้นกำเนิดจากหินตะกอนขนาดเม็ดทรายมาสะสมตัวกัน โดยมีตัวกลางเป็นทางน้ำหรือลมในการพัดพาตะกอน เหล่านั้นมาสะสมตัวในบริเวณที่เหมาะสมที่เรียกว่าแอ่งสะสมตะกอน

แท่งหินทรายที่ปรากฏในบริเวณนี้ แท้จริงเป็นปั้นหินชั้นเดียวกัน หากเปรียบเทียบแล้ว ตำแหน่งที่เรายืนอยู่ ในปัจจุบัน คือ การจมอยู่ในแอ่งสะสมตะกอนหินทรายที่แข็งตัวกลายเป็นชั้นหินในอดีต ที่ต่อมาเกิดการแตกและ ผุกร่อนจาก ฝน ลม และภูมิอากาศ สร้างรูปทรงและร่องรอยที่มีความโดดเด่นและแปลกตา เมื่อถูกปรุงแต่งเข้ากับ จินตนาการที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์ของแต่ละคน จึงสร้างสรรค์ให้หินแต่ละแห่งเกิดเป็นภาพที่แตกต่าง


10.หิน ดิน และป่าเต็งรัง
สรรพสิ่งในระบบนิเวศล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์กัน หินทรายเมื่อผุกร่อนจะกลายเป็นดินทราย ซึ่งพบมากในพื้นที่นี้ ดินชนิดนี้ระบายน้ำได้ดีแต่มีความชื้นน้อย ทำให้เกิดระบบนิเวศของป่าเต็งรังหรือป่าโคก ที่พรรณไม้ทนต่อสภาพแห้งแล้ง เช่น รักใหญ่ เพียง พะยอม บนลานหินยังพบต้นตองหมอง พืชที่เป็นดัชนีสำคัญ ของป่าเต็งรัง และยังพบร่องรอยของสัตว์ป่าขนาดเล็ก เช่น กระต่าย อาศัยอยู่ภายใต้ระบบนิเวศเดียวกัน

ป่าเต็งรังเป็นระบบนิเวศที่มีการปรับตัวตามฤดูกาล โดยต้นไม้จะผลัดใบและร่วงหล่นในช่วงฤดูแล้ง เพื่อลดการคายน้ำ จึงเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นป่าเสื่อมโทรมและมีความเสี่ยงถูกคุกคามมากขึ้น แต่แท้จริงแล้วกลับเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศและเป็นที่อยู่อาศัย ของสัตว์ป่า การอนุรักษ์และการจัดการป่าเต็งรังอย่างยั่งยืน จึงเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาความหลากหลายทาง ชีวภาพ


11.อ้อมกอดแห่งผืนป่า
ทัศน์ท่ามกลางป่าใหญ่ในมุมมอง 360 องศา ที่ปรากฏให้เห็นอยู่นี้ เปรียบเสมือนอ้อมกอดของธรรมชาติ ที่โอบล้อมเราจากผืนป่าที่มีความหลากหลายของระบบนิเวศ แต่อยู่ร่วมกันได้อย่างมหัศจรรย์ ต่างคงคุณค่า และเต็มเปี่ยมด้วยพลังที่ยิ่งใหญ่ที่ทำให้มนุษย์ตัวเล็กลง

ในห้วงเวลาสั้นๆ ที่ตัวเราเชื่อมโยงกับธรรมชาติ เปิดโอกาสให้เราได้มองเห็นสิ่งมีชีวิตอื่น เรียนรู้ที่จะเข้า ถึงธรรมชาติและเข้าใจตนเองเพื่อค้นหาความสุขที่อยู่รอบตัวเรา และเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติที่อยู่ร่วมกัน อย่างนอบน้อม เพื่อให้ “คน” อยู่ร่วมกับ “ธรรมชาติ” อย่างมีความสุขและยั่งยืน


12.เถาวัลย์ พันเกี่ยวสรรพชีวิต
เถาวัลย์ขนาดใหญ่รูปทรงแปลกตาที่ขึ้นเกาะพาดพันเรือนยอดต้นไม้เพื่อขึ้นไปรับแสงนี้ มีเนื้อที่แข็ง เหนียว แบน โค้งไปมาเป็นลอนสม่ำเสมอ ลักษณะเป็นชั้นๆ ดูคล้ายบันได จึงได้ชื่อว่า “กระไดลิง” ตามกิ่ง อ่อนมีขนขึ้นประปราย ส่วนกิ่งแก่นั้นเกลี้ยงเกลาไม่มีขน เถาวัลย์ชนิดนี้ เป็นเถาวัลย์ประเภทเนื้อแข็ง ซึ่งมัก จะมีเถาขนาดใหญ่เมื่อโตเต็มที่

เถาวัลย์หรือไม้เถา เป็นองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของความหลากหลายทางชีวภาพ มีคุณประโยชน์ ต่อสัตว์ป่าในแง่เป็นที่พักอาศัยและเป็นสะพานธรรมชาติระหว่างต้นไม้ คอยเชื่อมโยงและพยุงต้นไม้เล็กๆ ไม่ให้ล้ม เถาวัลย์ที่โตเต็มวัยทำหน้าที่เป็นพืชเบิกนำเข้าไปปรับพื้นที่ว่างเปล่าหรือเสื่อมโทรม ช่วยนำสิ่งมีชีวิต อื่นเข้ามา ทำให้ป่าเกิดการฟื้นตัวและกลับเข้าสู่สภาพป่าสมบูรณ์อีกครั้ง แต่หากมีจำนวนเถาวัลย์ที่มากเกินไป จะขัดขวางการขยายพันธุ์และชะงักการเจริญเติบโตของต้นไม้ชนิดอื่น ทำให้มีอัตราการตายเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งถือเป็น บทบาทหนึ่งที่สำคัญทางพลวัตของป่า


13.ความจริงจากแผ่นหิน
หินบริเวณนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับหินบริเวณผาหัวนาค คล้ายการนำหินสองก้อนมาวาง ซ้อนกัน โดยหินก้อนบนเป็นชะง่อนหินก้อนใหญ่ยื่นออกไปคล้ายเป็นหลังคา แต่จากหลักฐาน ทางธรณีวิทยาพบว่า ความจริงแล้วเป็นหินเพียงก้อนเดียวแต่มีการสะสมตัวของตะกอนซ้อน ทับกันเป็นชั้นๆ แทรกสลับกันอยู่

ที่เป็นเช่นนี้ เพราะชั้นหินแต่ละชั้นมีองค์ประกอบและความหนาที่แตกต่างกัน คงทนต่อการ ผุพังต่างกัน โดยหินชั้นล่างแข็งแรงน้อยกว่า จึงผุกร่อน แตก หลุด หรือหัก ในขณะที่หินชั้นบนที่ แข็งและทนกว่า สามารถคงรูปอยู่ได้ ลักษณะการซ้อนทับกันนี้ในบริเวณผิวมีสนิมเหล็กสีน้ำตาล ที่เกิดจากสารละลายเหล็กออกไซด์แทรกซึมลงไปในชั้นหิน ช่วยประสานเชื่อมเม็ดตะกอนให้จับ ตัวกันแน่น ก่อเป็นประติมากรรมหินรูปทรงสวยงามที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ไว้




14.ลมหายใจของผืนป่า
วัฏจักรของธรรมชาติเริ่มต้นและสิ้นสุดอย่างสมดุล ไม่มีสิ่โดยั้ยืนถาวร ตลอดทางเดินนี้เราจะได้รียนรู้ความเป็นมาในอดีต และมองเห็นอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ให้ได้เตรียมพร้อมและทบทวนวิธีที่เราปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมและเพื่อนมนุษย์

ทางเดินศึกษาธรมชาติไมใช่เพียงการเรียนรู้เิงนิทศ แต่เง็นโอกาลให้ธรรมชาตีได้โอบล้อมเพื่อฟิ้ฟูและเยียวยาตัวเรา ในขณะที่สีนป่าปลดปล่อยลมและกลิ่นหอมของไฟทอนไซค์ (Phytoncide) ลองสูดอากาศให้เต็มปอด จะรู้สึกสดซื่นและผ่อนคลาย


จุดส่งท้ายนี้เปรียบเสมือนจุดเริ่ต้นของพลังที่ธรรมชาติมอบให้ เพื่อส่งต่อคุณค่าและร่วมดูแลรักษาลมหายใจแห่งผืนป่าให้คงอยู่ในทัวงที่เราต่างใช้ลมหายใจเดียวกัน
“เส้นทางศึกษาธรรมชาติผาหัวนาค” เป็นอีกหนึ่งเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่น่าสนใจในประเทศไทย หากคุณกำลังมองหาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเรียนรู้ธรรมชาติไปพร้อมกัน เส้นทางนี้คือคำตอบที่คุณกำลังตามหา

สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือ ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Youtube :Travel MGR และ Instagram : @travelfoodonline และ TikTok : @travelfoodonline


กำลังโหลดความคิดเห็น