xs
xsm
sm
md
lg

กรมอุทยานฯ โพสต์คลิป “วาฬโอมูระ” ใต้ท้องทะเล อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์




วันนี้ (26 ก.พ. 67) ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้โพสต์คลิปสุดตื่นตาตื่นใจของ “วาฬโอมูระ” ที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ โดยระบุข้อมูลเพิ่มเติมว่า

"วาฬโอมูระ" เป็นวาฬสายพันธุ์หายากที่มีความใกล้เคียงกับวาฬบรูด้า เรียกว่าเป็นญาติกับบรูด้า จึงมักถูกเข้าใจผิดอยู่บ่อยๆ และมีข้อมูลเกี่ยวกับวาฬชนิดนี้น้อยมาก

"วาฬโอมูระ" ยังเป็น 1 ในสัตว์ป่าสงวนของไทยที่ใกล้จะสูญพันธุ์และหายาก สำหรับชื่อของวาฬโอมูระนั้นตั้งตามชื่อนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลชาวญี่ปุ่นนามว่าฮิเดโอะ โอมูระซึ่งเป็นผู้ค้นพบวาฬโอมูระ ในปี พ.ศ. 2546

วาฬโอมูระ (Omura’s Whale) Balaenoptera omurai Wada, Oishi, and Yamada, 2003

ขนาด : โตเต็มที่ยาว 9.0-11.5 ม. หนักน้อยกว่า 20 ตัน ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่า ตัวผู้เล็กน้อย
รูปร่าง : ค่อนข้างเพรียว ส่วนหัวมีสันนูน 1 สัน มีร่องใต้คางสีอ่อนจำนวน 80-90 ร่อง ยาวพ้นสะดือ กรามด้านซ้ายมีสีดำ ส่วนข้างขวามีสีจางหรือสีขาว
สี : ลำตัวเทาดำ ท้องสีอ่อน หรือชมพู
ซี่กรอง : จำนวน 180-210 คู่ ขนาดสั้นและกว้าง มีสีขาวเหลืองถึงดำ
ครีบหลัง : คล้ายวาฬบรูด้า แต่โค้งงอ มากกว่า อยู่ค่อนไปทางหาง
ชีวประวัติ : วัยเจริญพันธุ์ 8-13 ปี หรือความยาวไม่น้อยกว่า 9 ม.
พฤติกรรม : พบเพียงลำพังตัวเดียวหรือเป็นคู่ แต่อาจมีพฤติกรรมการรวมกลุ่มจำนวนมากในแหล่งอาหาร
อาหาร : ปลาที่รวมฝูง กินแบบพุ่งงับฝูงเหยื่อครั้งละมากๆ (Lunge feeder)
ถิ่นอาศัยและการแพร่กระจาย : เขตร้อนถึงอบอุ่น พบทั้งเขตนอกฝั่งและชายฝั่ง ส่วนมากพบบริเวณตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย และฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ในประเทศไทยพบซากบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน ส่วนฝั่งอ่าวไทย พบตั้งแต่ จ.ประจวบคิรีขันธ์ลงไปถึง จ.สงขลา ภาพถ่ายในธรรมชาติถ่ายได้จากฝั่งทะเลอันดามัน พบใกล้เกาะราชา จ.ภูเก็ต ฝูงหนึ่งจำนวน 4 ตัว


ขอบคุณ : คุณณชนก การุณกรณ์ และ คุณDennis Frey และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์


กำลังโหลดความคิดเห็น